การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มาเรียม นิลพันธุ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการสอน, การสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน, งานสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน 2) หาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ พัฒนาขึ้นแบบคู่ขนาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน ที่ลงเรียนรายวิชาดนตรีและศิลปะจีน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้มา จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มทดลองแบบคู่ขนาน ซึ่งได้มาจากรายวิชาของ อาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองแบบคู่ขนาน ทั้งหมด 3 รายวิชา ซึ่งเป็นนักศึกษาของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ 1. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาจีนในชีวิตประจำวัน จำนวน 30 คน 2. นักศึกษาทุกชั้นปีที่ ทุกคณะวิชาที่ลงทะเบียนเรียนวิชารายวิชากีฬามวยไทยเป็นวิชาเลือกเสรี จำนวน 30 คน 3. นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการถ่ายภาพดิจิตอลเชิงสร้างสรรค์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ คู่มือการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความสามารถในงานสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชื่อรูปแบบคือ “SILPA model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ การหาคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน มีเกณฑ์คุณภาพในระดับดี 2) หลังเรียนตามรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมี ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและศิลปะจีนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) มีพัฒนาการในงานสร้างสรรค์สูงขึ้น 4) มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบฯ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 5) ในการทดลองแบบคู่ขนานทั้ง 3 รายวิชา พบว่าหลังเรียนตามรูปแบบฯ นักศึกษา มีความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงานในระดับดีและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบฯ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (12 ตุลาคม 2513), พระราชดำรัสเนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2558, จาก http://rtafa.ac.th/edu/kingspeech.html

ทน เขตกัน. (2556). เทคนิคสอนศิลปะอย่างสร้างสรรค์โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551-2552. กรุงเทพฯ: 2552.

อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

Artful Learning. สืบค้นวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558, จาก hppt://wdmcs.org/schools/hillside/Artfullearning Approach home/hillside elementary/artful learning in action/artful learning approach

Creswell, J.W. & Plano Clark, V. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thounsand Oaks, CA: Sage.

Dewey, J. (1993). How We Think. Boston: D.C. Health.

Dick., W. & Caray, L. (1990). The Systematic Design of Instruction ,Third Edition ,Harper Collin.

Joyce, B., Weil, M., and Calhoun, E. (2009). Models of Teaching. (5th ed.) Boston: Allyn & Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25