การวิเคราะห์องค์ประกอบของความฉลาดทางจริยธรรมของผู้เรียนระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • ชุติมา แสงดารารัตน์ หลักสูตรการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • องอาจ นัยพัฒน์ ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อรอุมา เจริญสุข ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางจริยธรรม, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ผู้เรียนระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันของความฉลาดทางจริยธรรมของผู้เรียนระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนภาคกลาง การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนภาคกลาง 4 สถาบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 980 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันจำนวน 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อหา องค์ประกอบของความฉลาดทางจริยธรรม และแบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบของความฉลาดทางจริยธรรม แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นแรกเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในขั้นที่สองเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ด้วยโปรแกรม LISREL

ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของความฉลาดทางจริยธรรมที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความรับผิดชอบ ความมีเมตตา การให้อภัย และความเคารพ ทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถอธิบายความฉลาดทางจริยธรรมได้ร้อยละ 36.66 จาก ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าสถิติต่างๆ พบว่า โมเดลความฉลาด ทางจริยธรรมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงษ์ศักดิ์. (2541). มหาวิทยาลัยที่ทางแยก: จุดประกายวิสัยทัศน์อุดมศึกษาไทยในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตธรรม แผนกพระคัมภีร์. (2557). พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์.

ปราณี วิธุรวาณิชย์. (2542). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตโต). (2556). สู่การศึกษาแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระไพศาล วิสาโล. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี ศึกษากรณีมูลนิธิพุทธฉือจี้. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ภิกษุณีปุญสิมา พิทยรังสฤษฏ์. (2552). ศึกษาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรพุทธฉือจี้ในไต้หวัน. วิทยานิพนธ์ พธ.ม (พระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักมาตราฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.

สายฤดี วรกิจโภคาทร และคณะ. (2554). รายงานโครงการวิจัยเรื่อง คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

สุจิตรา อ่อนค้อม. (2545). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2558). สรุปข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาจำแนกตามภาคและจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

Borba, M. (2001). Building Moral Intelligence: The Seven Essential Virtues that Teach Kids to Do the Right Thing. CA: Josssey bass.

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam.

Hussain, M. (2010). Seven Steps to Moral Intelligence. United Kingdom : Kube Publishing.

Lennick, D. and Kiel, F. (2005). Moral Intelligenc: Enhancing business performance and Leadership success. New Jersey: Pearson Education.

Robert, C. (1997). The Moral Intelligence of children. London: Boloombury.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25