จาก กลีภพ สู่ ไลน์ภพ ส่วน (ไม่) ผสมของสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • วีรณัฐ โรจนประภา ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

กระบวนทรรศน์, กรอบความคิด, อรรถปริวรรต

บทคัดย่อ

ระเบียบวิธีการศึกษาระเบียบวิธีการศึกษา ใช้การศึกษาเอกสาร โดยแยกศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ 1) ในส่วนของสังคมไทยจะทำการศึกษาระบบคิดผ่านตาม 4 ยุค คือ สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์โดยเทียบเคียงกับ 5 ปรัชญากระบวนทรรศน์ ได้แก่ สมัยดึกดำบรรพ์ สมัยโบราณ สมัยกลาง นวยุค และหลังนวยุคซึ่งจะทำให้เห็นถึงสาเหตุแห่งปัญหาได้ และ 2) ศึกษาหาจุดเด่น และ จุดด้อยของระบบคิดในสังคมไทย เพื่อนำมาสร้างขึ้นเป็นแนวทางในการสร้างสังคมไทยให้ไปสู่สังคมแห่ง ปัญญา ผลการศึกษาพบว่าจุดแข็งของประเทศไทยคือความเข้มแข็งในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา โดย เฉพาะปัญญาในระดับสูงสุดคือภวนามยปัญญา ขณะที่จุดอ่อนคือความสับสนของประชาชนที่ถูกเปลี่ยน กระบวนทรรศน์ถึง 2 กระบวนทรรศน์ในช่วงไม่กี่ปี จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการปกครองให้ เลิกแนวคิดที่จะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มาพร้อมค่านิยมบริโภคนิยม ให้มอง วิทยาศาสตร์ตามจริงคือเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่ง และนำค่านิยมของจิตนิยมกลับมาใช้อีกครั้ง สำหรับ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการศึกษาคือ สร้างหลักสูตร และส่งเสริมให้มีการสอนอรรถปริวรรตศาสตร์ หรือศาสตร์แห่งการตีความผ่านเรื่องเล่าโดยปราศจากอคตินี้ทั้งในการศึกษาในระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศัย ในทุกระดับของการศึกษา

References

จักรชัย โฉมทองดี. (2543, ตุลาคม). ชะตากรรมเอเชียภายใต้การชี้นำของ IMF. จดหมายข่าวองค์กรพัฒนาเอกชน. ประชาทรรศน์, 7(67), 22

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2559). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรงุธนบุรี (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ปรีชา ประไพอมาตยกุล. (ม.ป.ป.). เฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรพร ถาวรพานิช. (2558). เจาะลึกความเป็นมาธุรกิจพระเครื่อง. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2558, จาก http:// www.siamintelligence.com/thailand-buddhist-land-and-amulet-business/

วิสุทธิ์ ภิญโญวาณิชกะ. (2537, สิงหาคม). วัดชัยวัฒนาราม: ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป. สยามอารยะ, 2(20), 75 – 79.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2555). คิดใหม่สู่การตื่นรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี.

พระเทพปริยัติเมที (2553). ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ (รายงานผลการวิจัย). นครสวรรค์: วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

พระครูปริยัติธรรมวงศ์ (2557). การพัฒนาสังคมไทยบนฐานพุทธธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น (รายงานผลวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26