ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานเป็นทีมกับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรการประปานครหลวง

ผู้แต่ง

  • สยาม เกิดจรัส สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, ปัจจัยการทำงานเป็นทีม, ประสิทธิผลการทำงาน, การประปานครหลวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการประปานครหลวง สำนักงานใหญ่ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรการประปานครหลวงสำนักงานใหญ่ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการทำงานเป็นทีมกับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรการประปา นครหลวง สำนักงานใหญ่ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัย เชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรการประปานครหลวง สำนักงานใหญ่ จำนวน 248 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยทำการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการกองบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมภายในการประปานครหลวง ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1) บุคลากรการประปานครนครหลวง สำนักงานใหญ่ มีปัจจัยการทำงานเป็นทีมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือด้านบทบาท ด้านความสามารถทางเทคนิคของผู้ปฏิบัติงานภายในทีม ด้านพฤติกรรมของ คนและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในทีม ด้านระบบการทำงาน และด้านเป้าหมาย ตามลำดับ

2) บุคลากรการประปานครนครหลวง สำนักงานใหญ่ มีประสิทธิผลการทำงานในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการธำรงรักษาสมาชิก รองลงมา คือด้านการเรียนรู้และการพัฒนาและด้านผลลัพธ์ในการทำงานตามลำดับ

3) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยการทำงานเป็นทีม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผล การทำงานของบุคลากรการประปานครหลวง สำนักงานใหญ่ อยู่ในระดับมากที่สุด

4) ผลการสัมภาษณ์พบว่าการประปานครนครหลวงมีนโยบายส่งเสริมการทำงานเป็นทีมผ่าน กิจกรรม CSR และมีการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พูดคุยกันในทุกเรื่องโดยการประชุมหารือกัน ทำให้ บุคลากรมีความใกล้ชิด พบปะพูดคุยกันได้ง่าย และสร้างให้หัวหน้างานมีความใส่ใจสมาชิกให้มากขึ้น ทำงานร่วมกันเปรียบเสมือนเป็นเพื่อน เป็นพี่น้องกัน โดยกิจกรรม CSR ที่การประปานครหลวงทำเป็น แบบ In Process โดยมุ่งเน้นการสร้างการบริการที่ดี และการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและบุคลากร

References

การประปานครหลวง. (2553). การประปานครหลวง. สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://www.mwa.co.th/

การประปานครหลวง. (2553). โครงสร้างองค์กร. สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://www.mwa.co.th/ewt_news.php?nid=1569

การประปานครหลวง. (2553). ประวัติ/ภาระหน้าที่. สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://www.mwa.co.th/ewt_news.php?nid=1624&filename=about_us

การประปานครหลวง. (2553). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม นครหลวง. สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://www.mwa.co.th/main.php?filename=about_us

การประปานครหลวง. (2553). สัญลักษณ์. สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://www.mwa.co.th/ewt_news.php?nid=43&filename=about_u

ขวัญชัย พูลวิวัฒน์ชัยการ. (2556). ระบบการทำงานและการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ (ย่านสีลม). (งานค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิริตา เชาวลิต. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการทำงานทีม ศึกษากรณีบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตเทคโนโลยีการบริหาร). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฉัตรประอร นิยม. (2548). การศึกษาองค์ประกอบการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลของกลุ่มงาน/ฝ่ายในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา.กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ชัยวัฒน์ วงศ์วิเศษ. (2548). ปัจจัยมี่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมศึกษาเฉพาะกรณีในบริษัท ทรูคอร์ปเปอร์เรชั่น จำกัด ระหว่างปี พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน. (รายงานวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เชาว์ เกษมกุล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัทมาสโปรแอมเทคคอร์ปอเรชั่น จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิติพงษ์ ตรีศร. (2552). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, และคณะ. (2546). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

ธนกร กรวัชรเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). (งานค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิพัฒน์ ภัทรธิติ. (2549). ยอดคน 80/20. กรุงเทพฯ: บริษัท สมาร์ท แวลู จำกัด.

นพภัสสร โกสินทรจิตต์. (2548). ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เปรมวดี คฤหเดช. (2540). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมสำหรับนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พวงรัตน์ เกสรแพทย์. (2557). การบริหารและจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน-มิตร.

พสุ เดชะรินทร์. (2549). การพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิชั่น พริ้นท์ มีเดีย.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2551). การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร่างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีมโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรพล กาญจนปาน. (2552). จริยธรรมในองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานและผลการดำเนินงานของการประปานครหลวง (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนัสนันท์ จรัสเลิศสิริ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.). (งานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาลัยภรณ์ บุตรดี. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างติดต่อสื่อสารกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู : ศึกษาเฉพาะกรณีครูของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรกิตต์ ศรีอ่ำอ่วม. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานเป็นทีมของบุคลากรกับการปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตบึงกุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

วิทยา ด่านธำรงกูล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2526). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

สุภาพร อัคราวัฒนา. (2541). การศึกษาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา คงปาน. (2556). การสร้างประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท บลูฟาโล่จำกัด อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิรดี ปราสาททรัพย์. (2550). การพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลทีมงาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Beckhard, Richard. (1982). Organization Development: Strategies and Moddels. MA: Mass Addison-Wesley Publishing Company.

Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Hackman, J. R. (1987). The Design of Work Team. In J.W. Lorsch (Ed.), Handbook of Organizational Behavior. pp. 315-342. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Kreitner, R. and Kinicki, A. (1992). Organizational Behavior. (2th ed.). Boston, MN: Irwin,Inc.

Shonk, J. H. (1982). Working in Teams: A Practical Manual for Improving Work Groups. New York: AMACOM.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29