การวิเคราะห์: ปัญหาข้อเรียกร้องของผู้รับจ้างจากสาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างอาคารของสำนักยุทธโยธาทหารกองบัญชาการกองทัพไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล ค้าเจริญ สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วรานนท์ คงสง รองอธิการบดี ฝ่ายวิทยบริการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

ข้อเรียกร้อง, ความล่าช้าในการก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างอาคารของสำนักยุทธโยธาทหาร 2) ศึกษาปัญหาข้อเรียกร้องจากสาเหตุความล่าช้าในงานก่อสร้างอาคารและ 3) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการในการเรียกร้อง โดยใช้แบบสอบถามจากโครงการก่อสร้าง ในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโดยตรง ได้แก่ ผู้ว่าจ้าง (กองบัญชาการกองทัพไทย ) และผู้รับจ้าง จำนวน 40 คน สำหรับการวิเคราะห์ผลการศึกษาค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาสาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างอาคารในภาพรวมมีสาเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ ฐานะทางการเงิน ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การวางแผนงาน การสำรวจและออกแบบ การควบคุมงาน ราคาวัสดุก่อสร้างและอัตราดอกเบี้ย ความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์ของช่างผู้ควบคุมงานเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและ หลักการบริหารงานก่อสร้างที่ดี ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นปัจจัยสาเหตุหลักที่ส่่งผลกระทบ คือ ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณก่อสร้าง สถานที่ก่อสร้างคับแคบ เครื่องจักรดำเนินงานไม่สะดวก 2) ปัญหาข้อเรียกร้องจาก ความล่าช้าในการก่อสร้างอาคาร เกิดจากแบบรูปและรายการประกอบมีความขัดแย้งกัน เพราะว่าสิ่งใดที่ ปรากฏในแบบรูปและรายการละเอียด หากมีข้อขัดแย้งกัน หรือผู้รับจ้างพบว่าจะเป็นปัญหาในการก่อสร้าง ให้ผู้รับจ้างปรึกษาและขอความเห็นต่อผู้แทนผู้ว่าจ้างและเมื่อได้รับอนุมัติ แล้วจึงจะดำเนินการก่อสร้าง ต่อไปได้ 3) ข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ ผู้จ้างและผู้รับจ้างต้องเข้าร่วมประชุมกันเพื่อที่จะ ร่วมกันแก้ไขปัญหา และตกลงไปในแนวทางเดียวกันซึ่งในการพูดคุยกันดังกล่าวของทั้งสองฝ่ายนั้นจะต้อง ไม่มีอคติต่อกัน ไม่อวดตัวว่าใครเก่งกว่าใคร ต้องเน้นการแก้ปัญหาที่แท้จริง จึงจะสำเร็จและทลายกำแพง ของปัญหาที่เกิดขึ้นได้

References

กอบลาภ สายะศิลปี. (2555). การศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความล่าช้ากับงานก่อสร้างภายใต้การควบคุมงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาคารพญาไท). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กานต์ภท เจริญชัยวัฒน์ และ ภัทรศิริ ไศละสูต. (2555). ปัญหาและสาเหตุที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้าง. (โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จีรศักดิ์ คำเรืองศรี และ ธนาตย์ ทองเชื่อม. (2555). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้าช้าต่อการก่อสร้างในงานราชการการ. (โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พลสัณห์ ช่างเหล็ก และ พัทธ์ปพน พิริยะชญานนท์. (2555). การวิเคราะห์ความล่าช้าในงานก่อสร้าง. (โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานยุทธโยธาทหาร. (2558). กรมยุทธโยธาทหารบก. สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2558, จาก http://oce.rtarf.mi.th/ssdceo/borad.jpg

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29