ภาพลักษณ์โดยรวมและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดี ของแฟนสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

ผู้แต่ง

  • ณัฐวดี สุขพันธ์
  • พีรภาว์ ทวีสุข

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์โดยรวม, การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, ความจงรักภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์โดยรวมและการสื่อสารการตลาด แบบบูรณาการที่มีต่อความจงรักภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ แฟนสโมสรฟุตบอลที่เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ณ สนามการแข่งขัน สูงที่สุด 5 อันดับแรก ประจำฤดูกาลปี 2557 จำนวน 400 คน และทดสอบสมมติฐานการศึกษาด้วยการ วิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า แฟนสโมสรฟุตบอลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท เข้าชมการแข่งขันเมื่อเป็นเจ้าบ้านโดยเฉลี่ย 8 ครั้งต่อฤดูกาล เข้าชมการแข่งขันเมื่อเป็นทีมเยือนโดยเฉลี่ย 4 ครั้งต่อฤดูกาล เข้าชมการแข่งขันเฉลี่ยครั้งละ 3 คน จ่ายเงินเพื่อซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันโดยเฉลี่ยครั้งละ 166.83 บาท และจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่ระลึกประจำสโมสรโดยเฉลี่ยฤดูกาลละ 1,902 บาท

ผลการทดสอบสมมติฐานการศึกษา พบว่า ภาพลักษณ์โดยรวมของสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

References

กอบกาญจน์ พุทธาศรี, วรางคณา อดิศรประเสริฐ และศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรักและความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติพงษ์ เอื้อพิพัฒนากูล และจุฑา ติงศภัทิย์. (2555). การศึกษาการดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก 2010. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 13(1),หน้า 63-76.

บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด. (2557). Fixtures. สืบค้น 1 มีนาคม 2558, จาก http://thaipremierleague.co.th/2014/tpl2014Table.php

บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด. (2557). วาดะควงสุเชาว์ผงาดซิวยอดเยี่ยมแห่งปีไทยลีก. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/141106_186.html.

รังสิยา พวงจิตร. (2555). เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อ และความภักดีต่อตราสินค้าของเครื่องสำอาง Oriental Princess ของผู้บริโภคเพศหญิงในเขต

กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการตลาด). กรุงเทพมหานคร : คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศราวุธ ดิษยวรรธนะ. (2555). ตัวแบบการสื่อสารการตลาดเพื่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก. (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง). กรุงเทพมหานคร : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.

สรชัย พิศาลบุตร และคณะ. (2551). การวิจัยทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์

Bouedeau, L. B. (2005). A New Examination of Service Loyalty: Identification of the Antecedents and Outcomes of Additional Loyalty Framework. Florida: Florida University

Chanavat, N. & Bodet, G. (2009). Internationalisation and sport branding strategy: a French perception of the Big Four brands. Qualitative Market Research: An International Journal,12(4),460-481.

Deloitte Touche Tohmatsu Limited. (2015). Commercial Breaks Football Money League. Retrieved March 31, 2015, from https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/uk/Documents/sports-business-group/deloitte-football-money-league-2015.PDF

Dix, S., Phau, I. & Pougnet, S. (2010). Bend it like Beckham’’: The influence of sports celebrities on young adult consumers. International journal of young consumers. Insight and ideas for responsible marketers,11(1),36-46.

FC Barcelona. (2013). History. Retrieved March 26, 2015, from http://www.fcbarcelona.com/club/history

Frick, B. & Lee, Y. (2011). Temporal variations in technical efficiency: evidence from German soccer. Journal of Productivity Analysis, 35(1),15-24.

Hair J. F., Black W. C., Babin, B. J., Anderson R.E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed). NJ: Pearson Prentice Hall.

Hamil, S. & Chadwick, S. (2010). Managing football: An international perspective. London: Butterworth-Heinemann.

Heere B., Walker, M., Yoshida, M., Ko, Y. J., Jordan, J. S. & James, J. D. (2011). Brand Community Development through Associated Communities: Grounding Community Measurement within Social Identity Theory. Journal of Marketing Theory and Practice, 19(4), 407-422.

Jleague. (2013). News. Retrieved July 25, 2014, from http://www.j-league.or.jp/aboutj/document/pdf/club-h25kaiji.pdf

Keaney, R. (2011). The land of the rising sons. The Football Project. Retrieved February 7, 2015 from http://thefootballproject.net/2011/12/05/the-land-of-the-rising-son/.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (Millennium Edition ed.). Upper Saddle River: New Jersey. Prentice-Hall.

Kotler, P. & Keller, K.L. (2009). Marketing Management. (13th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Nguyen, N. & LeBlanc, G. (1998). The mediating role of corporate image on customers’ retention decisions: an investigation in financial services. International Journal of Bank Marketing, 16(2), 52-65.

Shaw, D. R. (2007). Manchester united football club: developing a network orchestration model. European Journal of Information Systems,16(5),628-642.

Steven, A.T., Celuch, K. & Goodwin, S. (2004). The Importance of Brand Equity to Customer Loyalty. Journal of Product & Brand Management,13,217-227.

The Economist, (2011). The Catalan Kings. Retrieved March 27, 2015, from http://www.economist.com/node/18709691

Vincent, J., Hill, J. S. & Lee, J. W. (2009). The Multiple brand personalities of David Beckham: A case study of the Beckham brand. Sport Marketing Quarterly, 18(3),173-180.

Vlad, R. (2014). Web interfaces for e-CRM in sports: Evidence from Romanian football. Management & Marketing. Challenges for the Knowledge Society, 9(1),27-46.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. (3rd ed ).NewYork : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29