การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์
คำสำคัญ:
ชุดฝึกอบรม, การทำงานเป็นทีม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การเรียนรู้จากประสบการณ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ กลุ่มที่ศึกษา คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน ทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกอบรม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัย พบว่า ชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 5 หน่วยฝึกอบรม คือ ภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ การสื่อสาร การตัดสินใจ และการจัดการความขัดแย้ง แต่ละหน่วยฝึกอบรมใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ 4 ขั้นตอน คือ ลงมือทำ นำมาสะท้อนกลับ ปรับความคิดใหม่ และประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ ผลการตรวจสอบคุณภาพของชุดฝึกอบรม พบว่า ชุดฝึกอบรมมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระดับมากที่สุด มีประสิทธิภาพ 92.25/91.00 และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมในระดับมากที่สุด หลังการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการทำงานเป็นทีม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับอาสายุวกาชาด. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เมษยา ชิ้นอาภรณ์. (2550). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในองค์กรธุรกิจขนาดกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมธี จันท์จารุภรณ์. (2552). อสม.อาสาสมัครของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: โบว์แดง.
ราณี รัชนพงษ์. (2547). การเรียนรู้จากประสบการณ์. ใน, สารานุกรมศึกษาศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (น. 42-49). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วนิดา วิระกุล. (2545). การศึกษาวิวัฒนาการความสำเร็จและทิศทางการพัฒนางานสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2527). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2547). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dennison, B., & Kirk, R. (1990). Do, Review, Learn, Apply: A Simple Guide to Experiential Learning. Oxford: Basil Blackwell.
Bossche, P.V., Gijselaers, W.H., Segers, M. & Kirschner, P.A. (2006). Social and Cognitive Factors Driving Teamwork in Collaborative Learning Environments Team Learning Beliefs and Behaviors. Small Group Research, 37(5), 490–521. Retrieved April 22, 2016, from http://sgr.sagepub.com
Chang, Y.R. (1995). Success Through Teamwork: A Practical Guide to Interpersonal team Dynamics. London: Kogan Page Ltd.
George, J.M. & Jones, G.R. (2005). Organizational and Behavior, International. 4th ed. New Jersey: Pearson Education International.
Juriza, I. et al. (2011). Outdoor Camp Experiential Learning Activities for Teamwork and Leadership among Medical Students. Procedia Social and Behavioral Sciences (18), 622-625. Retrieved June 11, 2015, from http://www.sciencedirect.com
Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as the source of Learning and Development. New Jersey: Prentice-Hall.
Rentsch, J.R., Heffner, T.S., & Duffy, L.T. (1994). What You Know is What You Get form Experience Team Experience Related to Teamwork Schemas. Journal of Group & Organization Management, 19(4), 450-474.
Robbins, S.P. (2005). Organizational Behavior. 11th ed. New Jersey: Pearson Education.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt.
Varney, G.H. (1977). Organization Development for managers. Boston: Addison-Wesley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น