คุณลักษณะของแรงงานที่พึงประสงค์สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วิกานดา เกษตรเอี่ยม คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชานี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของแรงงานที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของแรงงานที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการจำแนกตามขนาดของสถานประกอบการ ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างชั้นภูมิ (Stratified sampling) เก็บข้อมูลจากตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของแรงงานที่พึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า คุณลักษณะที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ เคารพกฎระเบียบ ปฏิบัติงานด้วยงานซื่อสัตย์ รักษาความลับในงานที่ปฏิบัติ มีความรับผิดชอบ และ มี ทัศคติที่ดี

2. สถานประกอบการที่มีขนาดแตกต่างมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการที่แตกต่างกันในด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยี และ ด้านคุณธรรมจริยธรรม

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). สรุปสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ปี 2553 (ออนไลน์). สืบค้น 9 กันยายน 2558, จาก http://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php?cid=30.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2541). เอกสารประกอบการท่องเที่ยวไทย 2541-2542 (Amazing Thailand 1998-1999) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มปท.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). การประชุมเพื่อหาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ 20-21 เมษายน 2544. (ถ่ายสำเนา).
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จุฑาพร เริงรณอาษา. (2015). ข้อมูลการเตรียมความพร้อมการตลาดท่องเที่ยว เพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, สืบค้น 9 กันยายน 2558, จาก www.attm.biz/private_folder/AEC2015_01_01.doc
ทองใบ สุดชารี. (2546). การวิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วาสนา ศรีมะเรือง. (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิกานดา เกษตรเอี่ยม. (2558). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พศิน แตงจวง และคณะ. (2545). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สำเร็จการศึกษา 2540 - 2544. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภศิมา ศรีบุญชัย. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในมุมมองของบริษัทเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครกรณีศึกษา บริษัทที่เป็นคู้ค้ากับบริษัท สยาม โอคาย่า แมชชีน แอนด์ ทูล จำกัด, วารสารธุรกิจปริทัศน์, 6(2), 91-105
สายฝน บูชา และคณะ. (2550). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว การโรงแรมและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลที่พึงประสงค์ตามทัศนะของสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม. (2555). จำนวนสถานประกอบการ จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ, สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี (ออนไลน์). สืบค้น 9 กันยายน 2558, จาก http://webhost.nso.go.th/nso/project/search_cen/result_by_department.jsp
Association of Southeast Asian Nations. (2012). ASEAN Mutual Recognition Arrangement Framework, สืบค้น 9 กันยายน 2558, จาก http://www.asean.org/
Semeijin, J., Velden, R.V.D. and Boone, C. (2000). Personality Characteristics and Labour Market Entry and Exploration. Research Centre for Education and the Labour Market, Maastricht University.
Tourism Knowledge Management Center. (2556). สถานการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. College of Innovation Thammasat University. สืบค้น 9 กันยายน 2558, จาก http://www.tourismkm-ase an.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01