แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่การค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยว, กรอบแนวคิดแรงผลักดัน-แรงดึงดูด, การวิเคราะห์องค์ประกอบบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเหตุผลในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และ อำเภอแม่จันแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลด้วยตนเองถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูล โดยให้นักท่องเที่ยวระบุปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ประเด็นแรงจูงใจด้านผลักดันและดึงดูดถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวภายใต้กรอบแนวคิด แรงผลักดัน-แรงดึงดูดในการท่องเที่ยว วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบถูกนำมาใช้ในการสกัดองค์ประกอบ ด้านปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด การวิเคราะห์ปัจจัยผลักดัน 17 ประเด็นได้ผลองค์ประกอบด้านปัจจัยผลักดัน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การพักผ่อนหย่อนใจ การหลีกหนีความวุ่นวายจากภาระงานประจำหรือ สภาวะแวดล้อมเดิม, การสำรวจความแปลกใหม่ การเรียนรู้ การแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ, การยกระดับ ความสัมพันธ์ในครอบครัว,การเข้าสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การวิเคราะห์ปัจจัยดึงดูด 35 ประเด็นได้ผลองค์ประกอบด้านปัจจัยดึงดูดจำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวและ กิจกรรมการท่องเที่ยว การให้บริการสนับสนุนการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่งและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การให้บริการของเจ้าบ้าน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ และ ความมั่นคงทางการเมืองและปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ผลการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแรงกระตุ้น ในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ซึ่งสนับสนุนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยผลักดันและ ปัจจัยดึงดูดในวรรณกรรมด้านการท่องเที่ยว ผลการศึกษาได้ยืนยันว่าพฤติกรรมการเดินทาง ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ข้อค้นพบจากงานวิจัยมี ความสำคัญต่อการออกแบบกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีพื้นฐานจากความต้องการภายใน ของนักท่องเที่ยวและคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
References
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเชียงราย. (2559). ข้อมูลการค้าชายแดน. ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้น 16 เมษายน 2559, จาก http://www.chiangrai.net/dashboard14/
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2545.วันที่ 7-9 มีนาคม พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์. กรุงเทพมหานคร : กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนวัต คองประเสริฐ, สมชนก ภาสกรจรัส และพันธุมดี เกตะวันดี. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประเภทนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(2), 1-33.
ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา และกวิน วงค์ฤดี. (2557). ปัจจัยแรงผลักและแรงดึงต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
แสงเดือน รตินธร. (2555). ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 18(2), 84-104.
แสงหล้า ชัยมงคล. (2554). การใช้ Factor Analysis ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. โครงการ Research Zone (2011): Phase 52. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ศูนย์บริการให้ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย (2559). แหล่งท่องเที่ยวเชียงราย. สืบค้น 1 มิถุนายน 2559, จาก http://www.tourismchiangrai.com/
อัจฉราพร แปลงมาลย์. (2556). จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อัศวิน แสงพิกุล. (2552). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนานาชาติที่เดินทางมาประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Beard, J.G. & Ragheb, M.G. (1983). Measuring Leisure Motivation. Journal of Leisure Research, 15(3), 219-228.
Correia, A., & Pimpao, A. (2008). Decision-making Processes of Portuguese Tourist Travelling to South America and Africa. International Journal of Culture Tourism and Hospitality Research, 2(4), 245-357.
Correia, A., & Valle, P. O. (2007). Why People Travel to Exotic Places. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 1(1), 45-58.
Crompton, J. L. (1979). Motivation for Pleasure Vacation. Annals of Tourism Research, 6(4), 408-424.
Crouch, G.I., Perdue, R.R., Timmermans, H.J.P. & Uysal, M. (2004). Building Foundations for Understanding the Consumer Psychology of Tourism, Hospitality and Leisure In G.I.
Crouch, R.R. Perdue, H.J.P. Timmermans (Ed.). Consumer Psychology of Tourism, Hospitality and Leisure, 3, 1-10. CABI Publishing.
Dann, G. (1981). Tourist Motivation: An Appraisal. Annals of Tourism Research, 8(2), 187–194.
Fodness, D. (1994). Measuring Tourist Motivation. Annals of Tourism Research, 21(3), 555-581.
Gunn, C.A. (1988). Vacation scape: Designing tourist regions. 2nd Edition. Van Nostrand Reinhold, New York
Iso-Ahola, S. E. (1982). Towards a Social Psychology Theory of Tourism Motivation. Annals of Tourism Research, 9(2), 256-262.
Lue, C.-C., Crompton, J. L., & Stewart, W. P. (1996). Evidence of Cumulative Attraction in Multidestination Recreational Trip Decisions. Journal of Travel Research, 35(1), 41–49.
Mill, R. C., & Morrison, A. M. (1985). The Tourism System: An Introductory. Engelwood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.
Mohammad, B. A. M. A. & Som, A. P. M. (2010). An analysis of push and pull travel Motivation of Foreign Tourists to Jordan. International Journal of Business and Management, 5(12), 41-50.
Moscardo, G. M., & P. L. Pearce. (1986). Historical Theme Parks: An Australian Experience in Authenticity. Annals of Tourism Research, 13(3), 467-479.
Moscardo, G., Morrison, A.M.; Pearce P.L.; Lang C.-T. & O’Leary J.T. (1996). Understanding Vacation Destination Choice Through Travel Motivation and Activities. Journal of Vacation Marketing, 2(2),109-122.
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw- Hill.
Pearce, P. L. (1988). The Ulysses Factor: Evaluating Visitors in Tourist Settings. New York: Springer Verlag.
Pearce, P. L. (1991). Analyzing Tourist Attractions. Journal of Tourism Studies, 2(1), 46-52.
Pearce, P. L. (1993). Fundamentals of Tourist Motivation. In Tourism Research: Critiques and Challenges, D. Pearce, R. Butler, eds., 113-134. London: Routledge
Pearce, P. L., &Caltabiano, M. L. (1983). Inferring Travel Motivation from Travelers’ Experiences. Journal of Travel Research, 22(2), 16-20.
Plog, S. (1972). Why Destination Areas Rise and Fall in Popularity. Paper Presented at the Travel Research Association Southern California Chapter, Los Angeles.
Plog, S. (1974). Why Destination Areas Rise and Fall in Popularity. The Cornell Hotel and Restaurant Administrative Quarterly, 14(4), 55-58.
Plog, S. (1991). Leisure Travel: Making it a Growth Market..Again!. New York: John Wiley and Sons, Inc.
Um, S. & Crompton, J.L. (1990). Attitude Determinants in Tourism Destination Choice. Annals of Tourism Research, 17(3), 432-448.
Veal, A. J. (1997). Research Methods for Leisure and Tourism: A Practical Guide (2nd Edition). London: Financial Times-Prentice Hall.
Wahab, S.E. (1975). Tourism Management. London: Tourism International Press.
World Tourism Organization (UNWTO). (2002). Sustainable Development of Tourism. Retrieved January 2, 2016, from http://sdt.unwto.org/content/ecotourism-and-protected-areas
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Edition). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น