ความต้องการรูปแบบและลักษณะเนื้อหาสื่อกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจประชาคมอาเซียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เมธาวี แก้วสนิท คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

สื่อกิจกรรม, รูปแบบสื่อ, ลักษณะเนื้อหา, ประชาคมอาเซียน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อสำรวจการรับรู้รูปแบบและลักษณะเนื้อหาสื่อกิจกรรม และแสวงหารูปแบบและเนื้อหาสื่อกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจประชาคมอาเซียนที่สอดคล้องกับ ความต้องการของนักศึกษา โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้นำนักศึกษา 5 คณะ คณะละ 3 - 5 คน จากการ วิจัยพบว่า นักศึกษารับรู้ประชาคมอาเซียนผ่านสื่อป้ายประชาสัมพันธ์และนิทรรศการ สำหรับสื่อกิจกรรม ประกอบด้วย การอบรม เสวนา และการเรียนการสอนในรายวิชา เนื้อหาที่นักศึกษารับรู้โดยส่วนใหญ่ เป็นข้อมูลทั่วไป เช่น การกล่าวคำทักทาย การใช้ภาษา การแต่งกาย อาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมในรูปแบบสื่อกิจกรรมยังไม่เพียงพอ ไม่น่าสนใจ และไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น รูปแบบสื่อกิจกรรม ที่นักศึกษาต้องการมีความแตกต่างไปในแต่ละคณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความต้องการ เชิญวิทยากรจากประเทศเพื่อนบ้านหรือเดินทางไปร่วมกิจกรรมในประเทศเพื่อนบ้าน คณะวิทยาการจัดการ ต้องการจัดค่ายอาสาที่สอดแทรกความรู้อาเซียนและการใช้ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ต้องการให้มี การจัดกิจกรรมวันอาเซียน การจัดกิจกรรม Walk Rally เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป E - learning คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องการจัดแข่งขันการจัดนิทรรศการและการแข่งขันการใช้ ภาษาอาเซียน ส่วนคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต้องการสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาอาเซียนศึกษา หรือสอดแทรกความรู้ด้านประชาคมอาเซียนในรายวิชาอื่นๆ

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (ม.ป.ป.). อาเซียน. สืบค้น 26 มิถุนายน 2558, จาก http://www.mfa.go.th
เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้. (2554). การประชุมเสวนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบัณฑิตสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 29 กันยายน 2554.
_________. (2555). งานเวทีคุณภาพกิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ หัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีโครงการ/กิจกรรมการเตรียมความพร้อมนิสิตนักศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6 กุมภาพันธ์ 2555.
ณัฐวุฒิ สมยาโรน และอัจฉรา ศรีพันธ์กลยุทธ์. (2557). การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 9(2).
มณทิรา ตาเมือง. (2555). ภาษา สังคม และวัฒนธรรม จุดร่วม จุดต่างของประเทศในกลุ่มอาเซียน (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: การพิมพ์ดอทคอม.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์. (2558). การสำรวจความตระหนักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. รมยสาร, 13(1).
ลักษณา สตะเวทิน. (2554). งานประชาสัมพันธ์กับการสร้างชื่อเสียงขององค์กร. Executive Journal. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_11/pdf/aw27.pdf
ลำใย บุตรน้ำเพ็ชร. (2557). การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1).
สุคนธ์ สินธพานนท์ และจินตนา วีรเกียรติสุนทร. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่...สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุมัธยา กิจงาม. (ม.ป.ป.). เทคนิคการเขียนโครงการ. สืบค้น 15 สิงหาคม 2558, จาก plan.rmuti.ac.th/newplan/docopen.../เทคนิคการเขียนโครงการ.docx
อรุณ ขยันหา. (2557). ความเป็นประชาคมอาเซียนกับการอุดมศึกษาของไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 32(3).
อัจฉรา หล่อตระกูล. (2557). การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01