รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการ, การพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเพื่อ การพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และ 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 214 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการ จากกลุ่มบุคลากร จำนวน 214 คน 2) แบบสอบถามความเห็นและประเมินความคิดเห็น จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน โดย ใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ และ 3) แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จากกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าที
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ พบว่า สภาพ การบริหารจัดการหน่วยงานส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การบริหารจัดการหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การบริหาร จัดการกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การบริหารจัดการกิจกรรม พัฒนาการวิจัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิ สอดคล้องกัน และนำไป ปฏิบัติได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการหน่วยงานส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนการสอน 2) การบริหารจัดการหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน 3) การบริหาร จัดการกิจกรรมพัฒนาการสอน และ 4) การบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาการวิจัย
3. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ ผู้บริหารเห็นว่าเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการหน่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ การเรียนการสอน 2) การบริหารจัดการหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน 3) การบริหารจัดการ กิจกรรมพัฒนาการสอน และ 4) การบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาการวิจัย
References
กมล สุดประเสริฐ. (2548). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
จรัส สุวรรณเวลา และคณะ. (2545). บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมสันติ์ ขจรปัญญาไพศาล. (2552) ข้อเสนอแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธิ์ ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2551) คู่มือสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
เตือนจิตต์ จิตต์อารี. (2547). “ปัจจัยที่ส่งผลให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำการสอน บริการวิชาการวิจัยและบริการชุมชน”. ข่าวสารวิจัยการศึกษา. 17(3), 28-34.
นพ ศรีบุญนาค. (2540). การบริหารการพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ปริญญานิพนธ์ บ.ด.). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
นิโลบล นิ่มกิ่งรัตน์. (2546). การประเมินพฤติกรรมการสอนทั่วไปของอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, วิจัยสนเทศ, 3(34), 37-42.
ประกอบ คุปรัตน์. (2542). การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา: ปัญหาและทางออก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกอบ คุปรัตน์. (2549). การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา : ปัญหาและทางออก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป ม. โกมลมาศ, ภราดา. (2546). “การพัฒนาคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย”. ประทุม ฤกษ์กลาง. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน (ปริญญานิพนธ์การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรรณี บุญประกอบ และคณะ. (2545). รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีในมุมมองของประชาคมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2542). การบริหารจัดการอุดมศึกษา : หลักและแนวทางตามแนวปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2543). การพัฒนาคณาจารย์. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2546). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2546). รูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย, วารสารการศึกษาแห่งชาติ, 27(3), 78-82.
มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2547). การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่สัมพันธ์กับความมุ่งมั่นต่องานวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยานิพนธ์อุดมศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. (2546ก). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. (2546ข). รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
เมืองทอง แขมมณี. (2549). แนวทางการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. ในแนวทางการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. ขอนแก่น: หน่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนมหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2552). ทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
วิจิตร ศรีสอ้าน. ( 2541). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา. ราชภัฏฉะเชิงเทรา. 1(2): 1-10.
สนั่น ประจงจิตร. (2540). การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัย. ,เสียง มศว, 4(1-12), 37-43.
สนม ครุฑเมือง. (2547). รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยอิสระของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เอกสารการประชุมทางวิชาการการวิจัยทางการบริหารการศึกษา วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ปรัชญาการอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2547). รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุรพงค์ เอื้อศิริพรฤทธิ์. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดภาคใต้ (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิภา ปรัชพฤกษ์. (2554). หลังสมัยใหม่นิยมและการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: อินทภาษ์.
Caldwell, S.D. (1989). Staff Development: a Handbook of Effective Practices. Oxford, Ohio: National Staff Development Council.
Caldwell, S.D. (1982). Staff Development-Four Approaches Described, Assessed for Practitioner, Theroretician, NASSP Bulletin, 66(451), 25-35.
Cole, P.G.; & Chan,K.S.L. (1987). Teaching Pfinciples and Practice. New York: Prentice-Hall.
Kerr, C. (1964). Faculty Development: 2 Handbook of Effective Practices. Oxford, Ohio: National Staff Development Cancel.
Luis, M.C. (2009). Developing to Excellence: Thai Higher Education Instinct. Retrieved January 22, 2014, from. www.tga.or.th
Phillip, J.A. (1981). Staff and Faculty Development in theUniversity of Malaya in Staff and Faculty Development in Southeast Asia Universities. P.1-51. Singapore: koan Wah.
Rice, E.R., & Austin, A.W. (1985). Achieving Educational Excellence. San Francico: Jossey-Bass.
Scldin, P., & Tukman, T. (1990). How Administrator CanImprove Teaching: Moveing from Tolk to Action in Higher Education. San Francisco: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น