คุณภาพชีวิตในการทำงานสภาพแวดล้อมในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เบสเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, สภาพแวดล้อมในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เบสเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 2) ศึกษาคุณภาพ ชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เบสเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 3) ศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เบสเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน บริษัท เบส เท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 222 คน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ระดับความความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ค่าตอบแทนใน การทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพ มีความคิดเห็นระดับปานกลาง สำหรับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านบรรยากาศในการทำงาน อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานในด้านลักษณะงานส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ส่วนค่าตอบแทนในการทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน สำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ส่วนบรรยากาศในการทำงาน อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เบสเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารองค์กร และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการวางแผน
References
กนก เชาวภาษี. (2555). ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(3), 80-93.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิดา ริมดุสิทธ์. (2551). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
พัชรา ทาหอม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มนชัย อรพิมพ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ศิริกาญจน์ อาก๊ะ. (2555). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมคิด หรรษานิมิตกุล. (2543). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กรณีศึกษาฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะรัฐประศาสนศาสตร์.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น