อิทธิพลของวัฒนธรรมขององค์การรูปแบบการตัดสินใจ ความไว้วางใจ และการถ่ายโอน ความรู้ที่มีต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับ ปฏิบัติการธนาคารพาณิชย์ไทย
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมขององค์การ, รูปแบบการตัดสินใจ, ความไว้วางใจ, การถ่ายโอนความรู้, การปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย ต่อวัฒนธรรมขององค์การ รูปแบบการตัดสินใจ ความไว้วางใจ การถ่ายโอนความรู้ และการปฏิบัติงาน ของพนักงาน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมขององค์การ รูปแบบการตัดสินใจ ความไว้วางใจ และการถ่ายโอนความรู้ที่มีต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัย เชิงปริมาณพร้อมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินการในประเทศไทยโดยที่มีการร่วมทุนกับผู้ถือหุ้น สัญชาติต่างชาติเกินกว่าร้อยละ 50 ในเขตกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง จำนวน 385 คน ซึ่งคำนวณขนาด กลุ่มตัวอย่างได้ตามสูตรที่ใช้หาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane (1967) ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเป็นแบบหลาย ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ขั้นตอนที่ 1 การสุ่มตัวอย่างตามระดับขั้นแบบสัดส่วนโดยทำการเทียบ ขั้นแบบสัดส่วนของพนักงานระดับปฏิบัติการใน 4 ธนาคาร ขั้นตอนที่ 2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากพนักงานระดับปฏิบัติการใน 4 ธนาคาร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน แต่ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คนเพื่อสำรองไว้สำหรับแบบสอบถาม ที่ผู้ตอบคำถามนั้นตอบไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ระดับความคิดเห็นของพนักงานธนาคารพาณิชย์ ไทยต่อวัฒนธรรมขององค์การ รูปแบบการตัดสินใจ ความไว้วางใจ การถ่ายโอนความรู้ และการปฏิบัติ งานของพนกังานธนาคารพาณิชยไทย มีความคิดเห็นในภาพรวมทั้งหมดในระดับมาก ซึ่งผลการวิจัยเชิงปริมาณสอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรงระหว่างกัน คือ วัฒนธรรม ขององค์การมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อรูปแบบการตัดสินใจและการถา่ยโอนความรู้อย่างมีนัยสำคัญสถิติ .001 ความไว้วางใจมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อการถ่ายโอนความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และการถ่ายโอนความรู้มีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางอ้อมระหว่างกัน คือ วัฒนธรรมขององค์การและความไว้วางใจมีความ สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานทางอ้อมผ่านอิทธิพลของการถ่ายโอนความรู้ สำหรับตัวแปรแฝง ที่ไม่มีอิทธิพลระหว่างกัน คือ รูปแบบการตัดสินใจไม่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน วัฒนธรรม ขององคก์ารและรูปแบบการตัดสินไม่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจของพนักงาน ในการศึกษาครั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยควรสร้างวัฒนธรรมขององค์การให้พนักงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ยินดีที่จะถ่ายโอน ความรู้ระหว่างกันเพื่อการปฏิบัติงานที่ดีอันจะทำให้เกิดประโยชน์แก่องค์การโดยรวม
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (2553). การศึกษาสถานภาพและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม. (2556). สืบค้น 15 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.synaptic.co.th/managing_cultural_diversity_th.html.
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด. (2557). สถิติจำนวนพนักงานธนาคาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ธนาคารยูโอบี จำกัด. (2557). สถิติจำนวนพนักงานธนาคาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด. (2557). สถิติจำนวนพนักงานธนาคาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด. (2557). สถิติจำนวนพนักงานธนาคาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ และรัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2556). แบงก์ไทยหลังวิกฤต 40 พลวัตการปรับตัวและการแข่งขันใหม่. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006june22p4.htm
Amzat, I. H. & Idris, D. A. R. (2012). Structural equation models of management and decision making styles with job satisfaction of academic staff in Malaysian research University. International Journal of Educational Management, 26(7), 616-645.
Aryee, S., Budhwar, P. S. & Chen, Z. X. (2002). Trust as a mediator of the relationship between organizational justice and work outcomes: Test of a social exchange model. Journal of Organizational Behavior, 23, 267–285.
Awadh, A. M. & Saad, A. M. (2013). Impact of organizational culture on employee performance. International Review of Management and Business Research, 2(1), 169-172.
Campbell, J. P. (1990). Modeling the performance prediction problem in industrial and organizational psychology. Palo Alto, California: Consulting Psychologists Press.
Chen, J. S. & Lovvorn, Al. S. (2011). The speed of knowledge transfer within multinational enterprises: The role of social capital. International Journal of Commerce and Management, 21(1), 46-62.
Dizgah, M. R., Chegini, M. G. & Bisokhan, R. (2012). Relationship between job satisfaction and employee job performance in Guilan public sector. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 2(2), 1735-1741.
Duan, Y., Nie, W. & Coakes, E. (2010). Identifying key factors affecting transnational knowledge transfer. Information & Management, 47(7-8), 356-363.
Findikli, M. A., Gulden, A. & Semercioz, F. (2010). Subordinate trust in supervisor and organization: Effects on subordinate perceptions of psychological empowerment. International Journal of Business and Management Studies, 2(1).
Gingras, C. (2006). Effects of managers’ leadership styles and decision-making styles on appraisal of employees’ critical thinking performance. (Doctoral dissertation). California: Touro University.
Hofstede, G. (1991). Culture and Organizations: Software of the mind. London: McGraw-Hill.
House, R. J., Gupta, V., Hanges, P. J., Javidan, M. & Dorfman, P. W. (2004). Culture, Leadership, and Organizations: The GLOBE Study of 62 Societies. Thousand Oaks, California: Sage.
Lee, O. F., Tan, J. A. & Javalgi, R. (2010). Goal orientation and organizational commitment individual difference predictors of job performance. International Journal of Organizational Analysis, 18(1), 129-150.
Luhmann, N. (1979). Trust and Power. New York: John Wiley & Sons.
Marque' s, P. D., Ortiz, P. M. & Merigo´, M. J. (2013). The effect of knowledge transfer on firm performance: An empirical study in knowledge-intensive industries. Management Decision, 51(5), 973-985.
Morgan, R. M. & Hunt, S. (1994). The commitment-trust theory in relationship marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.
Ngoc, P. T. B. (2013). An empirical study of knowledge transfer within Vietnam’s IT companies national economics University, Hanoi. (Doctoral dissertation). Switzerland: University of Fribourg.
Olson, B. J., Bao, Y. & Parayitam, S. (2007). Strategic decision making within Chinese firms: The effects of cognitive diversity and trust on decision outcomes. Journal of World Business, 42(1), 35-46.
Osborne, D. G. (2010). The relationship of goal-directedness, generalized trust, and the manager’s decision making style. (Doctoral dissertation). Minnesota: Capella University
Paliszkiewicz, J. (2012). Orientation on trust and organizational performance. Management, Knowledge and Learning International Conference, 2012, 203-212.
Rahim, A. R., Shukor, A. S. & Llias, S. (2003). Truths and myths of management practices and job satisfaction among middle level management at public institution of higher learning in Malaysia. Retrieved 14 November 2013, from http://repo.uum.edu.my/270/1/Truths_and_muths_of_management_practices_and_job.pdf.
Ra šula, J., Vuksic, V. B. & Stemberger, M. I. (2012). The impact of knowledge management on organisational performance. Economic and Business Review, 14(2), 147–168.
Rhodes, J., Hung, R., Lok, P., Lien, B. Y-H. & Wu, C. (2008). Factors influencing organization knowledge transfer: Implication for corporate performance. Journal of Knowledge Management, 12(3), 84-100.
Rowe, A. J. & Mason, R. O. (1987). Managing with style: A guide to understanding, assessing, and improving decision making. San Francisco, California: Jussey-Bass.
Rowe, A. J. & Boulgarides, J. D. (1994). Managerial Decision Making. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Sablatura, M. T. (2012). A comparative GLOBE study: Regional differences in cultural values, cultural practices and perspectives of leadership between research administrators in the United States, Europe and Australasia. (Doctoral dissertation). Texas: Lake University San Antonio.
Spang, K. & Ozcan, S. (2009). Cultural differences in decision making in project teams. International Journal of Managing Projects in Business, 2(1), 70-93.
Stahl, G. K., Kremershof, I. & Larsson, R. (2004). Trust dynamics in mergers and acquisitions: A case survey. Paper presented at the Academy of Management Conference. New Orleans, August 6–11, 2004.
Stahl, G. K. & Voigt, A. (2005). Impact of cultural differences on merger and acquisition performance:
A critical research review and an integrative model. Advances in Mergers and Acquisitions, 4(51–82), 73.
Syauta, J. H., Troena, E. A., Setiawan, M. & Solimun, D. (2012). The influence of organizational culture, organizational commitment to job satisfaction and employee performance (Study at Municipal Waterworks of Jayapura, Papua Indonesia). International Journal of Business and Management Invention, 1(1), 69-76.
Tan, H. H. & Tan, C. S. F. (2000). Toward the differentiation of trust in supervisor and trust in organization. Genetic, Social and General Psychology Monographs, 126, 241– 260.
Uddin, M. J., Luva, R. H. & Hossian, S. Md. M. (2013). Impact of organizational culture on employee performance and productivity: A case study of telecommunication sector in Bangladesh. International Journal of Business and Management, 8(2), 3.
Vaara, E., Sarala, R., Stahl, G. K. & Bjorkman, I. (2012). The Impact of organizational and national cultural differences on social conflict and knowledge transfer in international acquisitions. Journal of Management Studies, 49(1), 1-27.
Weissenberger-Eibl, M. A. & Spieth, P. (2006). Knowledge transfer: Affected by organizational culture. Germany: Kassel University, Department of Innovation and Technology Management.
Xiao, Y., Zheng, X., Pan, W. & Xie, X. (2010). Trust, relationship commitment and cooperative performance: Supply chain management. Chinese Management Studies, 4(3), 231-243.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น