ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, การรับรู้, การบริการ, ธุรกิจ, พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์, ผู้บริโภคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพการบริการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพการบริการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพการบริการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
โดยกำหนดให้ประชากรคือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย สถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบแบบ t-test, การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีระดับความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าผู้บริโภคที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีระดับการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการเปรียบเทียบระดับความคาดหวังกับระดับการรับรู้ของผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการด้านความสามารถของผู้ให้บริการ ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านการรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวและด้านความเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2550). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรยงค์ โตจินดา. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: รวมสาสน์.
นันทา ติงสมบัติยุทธ์. (2538). ความคิดเห็นและความคาดหวังที่มีต่อรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชา: ศึกษากรณีข้าราชการในส่วนกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประภัสสร ปานศรี. (2536). การศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารและครูต่อคุณลักษณะครูแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสงค์ ปราณีตผล และคณะ. (2543). การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ = Production and operations management: ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนธัชการพิมพ์.
ลักขณา สริวัฒน์. (2530). จิตวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มยุรี บุญบัง. (2554). ความคาดหวังและการรับรู้จริงของพนักงานต่อคุณภาพการให้บริการการจ้างงานบุคคลภายนอกของ ธนาคาร ธนชาต จำกัด มหาชน. (สารนิพนธ์ ปริญญาโท). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด
สรชัย พิศาลบุตร. (2550). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุชา จันทน์เอม และ สุรางค์ จันทน์เอม. (2518). การวัดทางจิตวิทยาและการศึกษา. กรุงเทพฯ, แพร่พิทยา.
สุรางค์ จันทร์เอม. (2529). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.
สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติสิรินธร. (2551). โครงการศึกษาระบบตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กระทรวงพาณิชย์.
สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์. (2543). การสร้างความสามารถในการแข่งขันของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Internet World Stat. (2014). Internet World Stats Usage and population statistics. Retrieved November 13, 2015, from: www.internetworldstats.com/stats3.htm#asia
Heizer & Render. (1999). Operations Management. (6th Edition). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Parasuraman A, Zeithaml Valarie A, & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49,41-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น