การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • วรางคณา โสมะนันทน์ สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดลดาว ปูรณานนท์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชุติมา สุรเศรษฐ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา, องค์ประกอบเชิงยืนยัน, นิสิตระดับอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา และเพื่อศึกษาคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 820 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .79 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา มีจำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านศีล องค์ประกอบด้านสมาธิ และองค์ประกอบด้านปัญญา ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ การศึกษาคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขา พบว่า นิสิตกลุ่มตัวอย่างมีคุณลักษณะนิสิตอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.54)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). รายงานวิจัยเรื่องคุณลักษณะสำคัญที่พึงประสงค์ของคนไทยตามแต่ละช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภา.

คันธรส แสนวงศ์. (2543). คุณภาพของเยาวชน : ความหวังของชาติที่เสริมสร้างได้. วารสารร่มไทรทอง, 10(2), 28-31.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2555). การพัฒนานักศึกษาตามแนวไตรสิกขาศีล สมาธิ ปัญญา ประจำปีการศึกษาที่ 1/2555. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). โมเดลริสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2549). วิมุตติมรรค. กรุงเทพฯ : ธรรมดา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตตฺโต). (2549). ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใส และสุขสันต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตตฺโต). (2552). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ) (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมมิก.

พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส. (2547). จดหมายเหตุ โรงเรียนวิถีพุทธ” หนังสือ “วิถีพุทธสู่วิถีชีวิต” ที่ระลึกงานมอบประกาศนียบัตร ปีการศึกษา 2547. กรุงเทพฯ: โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสุทัศนเทพวราราม (พอ.สท).

พระมหาเสกสรร จิรภาโส. (2552). การศึกษาวิเคราะห์หลักไตรสิกขาที่มีต่อการจัดการศึกษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาพระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พุทธทาส. (2549). คู่มือมนุษย์ (ฉบับสมบูรณ์) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

ศรีวรรณ มีคุณ. (2548). ปัญหาสังคมในกลุ่มวัยรุ่นและนิสิตนักศึกษา. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 1(1), 17-24.

สารสนเทศอุดมศึกษา (2558). ข้อมูลนักศึกษารวม ปีการศึกษา 2557. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.info.mua.go.th/information/index.php

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2547). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องภูมิคุ้มกันบัณฑิตไทยในโลกไร้พรมแดน 1 - 2 ธันวาคม 2547. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

อนุช อาภาภิรม. (2545). การพัฒนาอย่างยั่งยืน : คำตอบอยู่ในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์น การพิมพ์.

Bentler, P., & Chou, C. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods and Research, 16(1), 78-117.

Byrne, M. B. (1998). Structural equation modeling with LISREL, PRELIS, and SIMPLIS : basic concepts, applications, and programming. Mahwah, N.J. : L. Erlbaum Associates.

Kenny, D.A. & McCoach, D.B. (2003). Effect of the Number of Variables on Measures of Fit in Structural Equation Modeling, Structural Equation Modeling, 10(3), 33-51.

Kline, R. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (2nd ed.). NewYork: The Guilford Press.

Macionis, J. J. (2008). Social problems (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson/Prentice Hall.

Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H., & Müller, H. (2003). Evaluating the fit of structural equation models: Test of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of Psychological Research - Online, 8(2), 23-74.

Worthington, R., & Whittaker, T. (2006). Scale Development Research. A Content Analysis and Recommendations for Best Practices. The Counseling Psychologist, 34(6), 806-838

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01