ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม และอิทธิพลของสังคม กับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมใช้งานระบบสารสนเทศของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลาง กรมส่งเสริม สหกรณ์
คำสำคัญ:
ความคาดหวังในประสิทธิภาพ, ความคาดหวังในความพยายาม, อิทธิพลของสังคม, ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม และอิทธิพลของสังคมกับพฤติกรรมการใช้งานระบบสารสนเทศของบุคลากร ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลาง
การศึกษานี้ประยุกต์แบบจำลองของทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (Unified Theory of Acceptance and Use of TechnologyUTAUT) ประชากรเป็นผู้ปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์จำนวนทั้งสิ้น 738 คน ซึ่งใช้สูตร Taro Yamane ในการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่าง 259 คน ทั้งนั้นผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทั้งกลุ่มประชากร และได้รับการตอบกลับ270 คน ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังในประสิทธิภาพการทำงานของระบบสารสนเทศ และอิทธิพลของสังคมของผู้ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของการใช้ระบบสารสนเทศ ของผู้ปฏิบัติงานยกเว้นความคาดหวังในความพยายามใช้ระบบสารสนเทศที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของการใช้ระบบสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงาน
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์,ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2557–2561 หมวด 2. (ม.ป.พ.).
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). หลักสถิติ. (ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
นพวรรณ รักยุติธรรมกุล. (2544). การศึกษาการนำซอฟต์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning) มาประยุกต์ใช้งานในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีชา พันธุมสินชัย. (2547). ERP เผยวิธีทำจริง. กรุงเทพฯ: TLAPS.
อุบลวรรณ ขุนทอง, ศิริเดช คำสุพรหม, และนพพร ศรีวรวิไล. (2557). ปัจจัยความสำเร็จของการใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรด้านการบัญชีและการเงิน ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักบัญชีและนักการเงินและส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงานในองค์กรธุรกิจไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(86), 295-321.
อุษณา ภัทรมนตรี และวรพรรณ เรืองผกา. (2551). การทดสอบความสามารถการใช้งานในการตรวจสอบภายใน : กรณีศึกษาการทดสอบโปรแกรมระบบบริหารงานโครงการ. (รายงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Basoglu, N., Daim, T., and Kerimoglu, O. (2007). Organizational Adoption of Enterprise Resource Planning Systems: A Conceptual Framework. Jrnl. of High Tech. Mgt Research18(1), 73-97.
Chang, I.C., Hwang, H.G., Hung, W.F., & Li, Y.C.(2007).Physicians’ acceptance of pharmacokinetics-based clinical decision support systems. Expert Systems with Applications, 33(2), 296-303.
Jacobs,F. Robert,F.C. Weston, Jr. (2007). Enterprise resource planning (ERP)—A brief history. Journal of Operations Management,25(2), 357–363.
Koh, S.C.L., &Simpson, M. (2007). Could enterprise resource planning create a competitive advantage for small businesses. Benchmarking: An International Journal, 14(1),59 – 76.
Al-Shafi, S.,Weerakkody, V.,& Janssen, M. (2009).Investigating the Adoption of eGovernment Services in Qutar Using the UTAUT Model. AMCIS 2009 Proceedings, Paper 260.
Venkatesh, V., Morris, M.G.,Davis, G.B.,&Davis, F.D. (2003).User acceptance of information technology: Toward a unified view,MIS Quarterly, 27(3), 425–478.
Watson, E., & Schneider, H. (1999).Using ERP systems in education, Communications of the AIS,1(9), 1-47.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น