การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาบรรยากาศในการสื่อสารและการพัฒนาตนเองของผู้ใต้บังคับบัญชา กรณีศึกษากรมทางหลวง
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา, พฤติกรรมการสื่อสารของผู้บังคับบัญชา, บรรยากาศในการสื่อสาร, การพัฒนาตนเองของผู้ใต้บังคับบัญชบทคัดย่อ
การวิจัยมีนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อการสื่อสารของผู้บังคับบัญชา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้ใต้บังคับบัญชากับบรรยากาศการสื่อสารในองค์กร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้ใต้บังคับบัญชากับการพัฒนาตนเอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างประจำของกรมทางหลวง ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 15,323 คน ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Proportionate Stratified Sampling) สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรตามกลุ่มย่อย แบ่งเป็นข้าราชการ จำนวน 186 คน พนักงานราชการ จำนวน 94 คน และลูกจ้างประจำของกรมทางหลวง จำนวน 120 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ด้วยสถิติ Pearson Correlation
ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการสื่อสารของผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) บรรยากาศการสื่อสารในองค์กรมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาตนเองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01
References
กริช สืบสนธิ์. (2537). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญเรือน กิติวัฒน์, และภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2542). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จินตนา บุญบงการ. (2531). การบริหารสำนักงาน. กรุงเทพฯ: สโมสรนักขาย.
จันทิมา เขียวแก้ว. (2545). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ชาญชัย เจนครองธรรม. (2540). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พิสิทธ์ สารวิจิตร, และประพันธ์ ปลิปลอดภัย. (2529). การพัฒนาตนเอง เพื่อความพึงพอใจในชีวิตและการงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วิทยา นาควัชระ. (2543). อยู่อย่างสง่า. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วิเชียร แก่นไร่. (2542). การพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
สมิต อาชวนิจกุล. (2534). การพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สมยศ นาวีการ. (2527). การติดต่อสื่อสารขององค์การ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สัมภาษณ์ แก้วอาภรณ์. (2530). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของนิสิตนักศึกษาศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันท์ นิลบุตร. (2536). การพัฒนาตนเอง. วารสารคุรุปริทัศน์, 7, 22-25.
เอื้อบังอร นันทมนตรี. (2546). การเปิดรับความพึงพอใจ และการได้รับประโยชน์ในข่าวสาร จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของพนักงานในองค์กร : กรณีศึกษาเครือเคมีภัณฑ์ซีเมนต์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Crino, D. & White, C. (1981). Satisfaction in Communication : An Examination of the Downs-Hazen Measure. Psychological Report. 49, 831-838.
Downs, W. & Hazen, D. (1977). A Factor Study of Communication Satisfaction. Journal of Business Communication. 14(2), 63-73.
Katz, E., Blumber, J., & Gurvitch, M. (1974). The uses of mass communication: Current perspectives on gratifications research. Beverly Hills, CA: Sage.
Redding, W.C. (1972). Employee-Organization: The Psychology of Commitment. New York: Academic.
Yamane, T. (1967). Elememtary sampling theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice - Hall
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น