ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • นิสรา ใจซื่อ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 3) ปัญหาอุปสรรค ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) แนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกหมู่บ้านศาลาศักดิ์ หมู่ที่ 1 จำนวน 319 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 135 คน และ สมาชิกหมู่บ้านบ้านโคก หมู่ที่ 7 จำนวน 215 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 91 คน รวมประชากรของทั้งสองหมู่บ้านทั้งสิ้น 534 คน กลุ่มตัวอย่าง 226 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient (r) หรือ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านศาลาศักดิ์ และหมู่บ้านบ้านโคก มี 8 ปัจจัยเหมือนกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านจิตใจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วมด้านผู้นำ หมู่บ้าน และด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ โดยภาพรวมของทั้ง 8 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (ม.ป.ป.). หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.chumchon.cdd.go.th/web/home/tsd_job3.php
กานดาพันธุ์ วันทยะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กีรติ เกิดคำ. (2552). ความสำเร็จของนโยบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านสันติสุข หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จำรัส โคตะยันต์. (2553). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” กรณีศึกษาหมู่บ้านก้างปลา ตำบลหนองไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิราณีย์ พันมูล. (2554). กระบวนการพัฒนาชุมชนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านนาเวียง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม).กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/WhatSufficiencyEconomy.aspx
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2519). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วม เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
น้ำฝน ผ่องสุวรรณ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัด สมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประเวศ วะสี. (2540). แผนพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัท กรีน ปัญญาญาณ.
ปรียานุช ธรรมปิยา. (2555). วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
พจนันท์ กองมาก. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการยอมรับรูปแบบกิจกรรมของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิทยา บวรวัฒนา. (2549). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (ม.ป.ป.). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2556, จากhttp://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=3579&catid=266:-2553&Itemid=203
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยอนุเคราะห์ไทย.
วรารัตน์ พันธ์สว่าง และคณะ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติของหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: บ้านคลองมะแพลบ หมู่ที่ 9 ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วันชัย พละไกร. (2550). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านตำแย ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมเพื่อการพัฒนา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
วิบูลย์ ตรีถัน. (2539). การวางแผนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการศึกษานอกระบบ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิศาล ทำสวน. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาหมู่บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2547). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493-2549 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2552). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา กรุงเทพมหานคร.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมทำตามรอยยุคลบาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ด่านสุธาการพิมพ์.
เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Rural Development Participation : Concepts and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. The Rural Development Committee
Center International Studies. New York: Cornell University.
Du Brin, A.J. (2014). Leadership: Research Finding, Practice, and Skills. (8th ed). Boston: Houghton Mifflin Company.
Fiedler, F.E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw-Hill Book Company.
Hodge B.J. and Herbert J.J. (1970). Management and Organization Behavior. New York: John Willey & Sons.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company.
Raymond, B. (1972). Fundanamental of Leadership Readings. Massachusetts Addison: Wesley Publishing Company.
United Nations. (1978). Popular Participation in Decision making for Development. New York: United National Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-02