การยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SNS) ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Gen Y)
คำสำคัญ:
การยอมรับ, เครือข่ายสังคมออนไลน์, เจเนอเรชั่นวาย, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้, ความง่าย, กลุ่มอ้างอิงบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SNS) ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Gen Y)” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงกับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือ กลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่มีอายุระหว่าง 20-35 ปีที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และมีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-25 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี รองลงมาเป็นระดับสูงกว่าปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท
2. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวมในระดับ “มาก” การรับรู้ความง่ายในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวมในระดับ “มาก” การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในระดับ “มาก” และมีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับ “ปานกลาง”
3. การทดสอบสมมติฐานพบว่าการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
คมชัดลึกออนไลน์. (2557). กลยุทธ์มัดใจ ผู้บริโภค Gen Y : โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.komchadluek.net/detail/20141121/196253.html
ชานนท์ ศิริธร. (2555). การเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ๊กซ์และเจเนอเรชั่นวาย(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นีลเส็น ประเทศไทย . (2556). ผลสำรวจ 10 แอปพลิเคชั่นยอดนิยมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.nielsen.com/th/th/top10s.html
พชร แก้วเขียว. (2555). การยอมรับการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. ( 2547). การรับรู้และการยอมรับศูนย์บริการสารสนเทศชุมชนในชนบทไทย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. (2556). วิจัยคน"เจนวาย" ในองค์กรพุ่งปี 2559 แนะธุรกิจปรับกลยุทธ์คนรุ่นใหม่เก่าต้านปัญหาสมองไหล. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2558, จาก http.//news.thaipbs.or.th
ส่วนงานดัชนีและสำรวจ สำนักนโยบายและส่งเสริมธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2556, กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน).
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร. (2550). Gen Y: จับให้มั่นคั้นให้เวิร์ค. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค.
เสาวคนธ์ ศิรกิดากร. (2554). 45 กระบวนท่าพัฒนา Gen Y. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ไอที 24 ชั่วโมง. (2557). เผยพฤติกรรมคนไทย ติด Social Network ตลอดเวลา จนขาดไม่ได้. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.it24hrs.com/2014/thai-socialnetwork-day-in-a-life
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1970). The prediction of behavior from attitudinal and normative variables. Journal of Experimental Social Psychology, 6, 466-487.
Agarwal, P. (1997). The Role of Innovation Characteristics and Perceived Voluntariness in the Acceptance of Information Technologies. Decision Sciences. 28(3), 557-582.
Chau, P.Y.K. (1996). An empirical assessment of a modified technology acceptance model. Journal of Management Information Systems, 13(2), 185-204.
Davis, F.D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use and User acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-339.
Davis, F.D., Bagozzi, R.P. & Warshaw. (1989). User acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982-1003.
Igbaria, M. & Iivari, J. (1995). The effects of self-efficacy on computer usage. International Journal of Management Science, 23(6), 587-605. Decision Sciences Institute. 28,(3), 557–582.
Mathieson, K. (1991). Predicting User Intentions: Comparing The Technology acceptance Model with the Theory of Planned Behavior. Information Systems Research. 3(3), 173-179.
Rogers, E. M. (1995). Diffusion of Innovations. New York: Free Press.
Szajna, B. (1996). Software evaluation and choice :Predictive validation of the technology acceptance instrument . MIS Quarterly, 18(3), 319-324.
Taylor, S. & Todd, P.A. (1995). Understanding information technology usage : A test of competing models. Information Systems Research, 6(2), 144-176.
Venkatesh, V. & Davis, F. D. (1996). A Model of the antecedents of perceived ease of use: Development and test. Decision Science, 27(3), 451-481.
Venkatesh, V. & Davis, F. D. (2000). A Theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management Science, 46(2), 186-204.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น