การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในการจัดการแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมประมงและ ห้องเย็นแปรรูปอาหารทะเลบริเวณจังหวัดชายทะเลภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • บุญชิน ตั้งบุญชัยเจริญ

คำสำคัญ:

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, การจัดการแรงงานต่างด้าว, อุตสาหกรรมประมงและห้องเย็นแปรรูปอาหารทะเล

บทคัดย่อ

ในอุตสาหกรรมประมงและห้องเย็นแปรรูปอาหารทะเลบริเวณจังหวัดชายทะเลภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตาม หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความสำนึกรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เพื่อที่จะได้ทราบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารแรงงานต่างด้าว ในอุตสาหกรรมประมงและห้องเย็นแปรรูปอาหารทะเล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 618 คน ผลการศึกษาพบว่า

1. การบริหารบ้านเมืองที่ดี ระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.83) โดย ในด้านหลักนิติธรรมพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.83) หลักคุณธรรมพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\vec{x}= 3.89) หลักความโปร่งใสพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.79) หลักความโปร่งใสพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.89) หลักความสำนึกรับผิดชอบพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.78) และหลักความคุ้มค่าพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.83)

2. การจัดการแรงงานต่างด้าว ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.78) โดยในการจัดการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\tilde{x} = 3.83) การจัดการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.79) การจัดการสาธารณสุขพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.77) การจัดการจดทะเบียนการเกิดพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.72) และการจัดการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมพบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.77)

3. การทดสอบสมมุติฐานความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับการจัดการแรงงานต่างด้าว ได้ดังนี้

สมมุติฐานที่ 1 : การบริหารจัดการกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับการจัดการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกอบไปด้วยสิทธิประโยชน์ของแรงงาน คุ้มครองค่าจ้าง แรงงานคุ้มครองเรื่องส่งกลับ จัดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงความปลอดภัยในที่ทำงาน พบว่ามี ความสัมพันธ์ในระดับสูงที่ 0.9134

สมมุติฐานที่ 2 : การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับการศึกษา ประกอบไปด้วย การให้ความรู้ ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน พัฒนาการศึกษาเด็กต่างด้าว สร้างความตระหนักในการใช้แรงงานต่างด้าว พบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงที่ 0.8782

สมมุติฐานที่ 3 : การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับการจัดการสาธารณสุข ประกอบด้วยการควบคุมโรค ด้านสาธารณสุข ด้านรักษาพยาบาล ด้านความปลอดภัย และสุขภาพ ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและที่ที่พัก ด้านละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานเด็ก พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงที่ 0.8890

สมมุติฐานที่ 4 : การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับการจดทะเบียน การเกิดประกอบไปด้วยการจัดระบบแรงงานต่างด้าว การคุ้มครองตามกฎหมาย พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงที่ 0.7782

สมมุติฐานที่ 5 : การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมประกอบไปด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานข้ามชาติ การคุ้มครองสิทธิแรงงาน ต่างด้าว กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง การจ้างแรงงานและสวัสดิการ พบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงที่ 0.8285

4. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบเส้นทางความสัมพันธ์ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พบว่าหลักนิติธรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและการจัดการสาธารณสุข หลักความโปร่งใสมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการจัดการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หลักความสำนึกรับผิดชอบมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หลักความคุ้มค่ามีอิทธิพลทางอ้อมต่อการจัดการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การจัดการสาธารณสุขและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2553). : แรงงานต่างด้าว. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2555. จาก, http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20130506/503498/แรงงานต่างด้าว : มนุษย์ล่องหนในประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). ธรรมรัฐภาคการเมือง : บทบาทภาคีการเมือง.

สารวุฒิสภา. คลังปัญญาไทย. (2555). สิทธิมนุษยชน. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2555. จาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2549). ธรรมาภิบาลกับข้าราชการไทย. กรุงเทพมหานคร : สรรพากรสาส์น.

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2550). ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ : บทสังเคราะห์นิยม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลัดดารัตน์ เลิศลักขณาวัฒน์. (2554). แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2554 จาก, http://www.prdnorth.in.th/analyse/viewanalyse.php?view=15092547113241.

สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2549). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการประกอบธุรกิจตามแนวพระราชดำริด้านสังคมตามหลักธรรมาภิบาลและ

ธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สุดจิต นิมิตกุล. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีในการปกครองที่ดี Good Governance. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2554). ทีดีอาร์ไอไม่ห่วงแรงงานต่างด้าวจัดระบบดีคุมได้แน่อีก 5 ปี หมดยุคแรงงานราคาถูก.

สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2554, จาก : https://www.matichon.co.th/

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา, 120 (ตอนที่ 100 ก), 1-5.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2554). ปัญหาจากแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงแรงงานสวัสดิการสังคม.

อุดม มุ่งเกษตร. (2545). Governance กับการพัฒนาข้าราชการ. กรุงเทพมหานคร : ไอเดียสแควร์.

Commonwealth Secretariat. (2000). Promoting Good Governance : Principles, Practices and Perspectives. London: Commonwealth Secretariat.

United Nations. (2000).Good Governance and Human Rihgt. Retrieved November 19, 2011 from http://www.ohchr.org/EN/Issues/Development/GoodGovernance/page/GoodGovernanceIndex.aspx.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03