ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ต่อคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ : กรณีศึกษานักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้แดนมังกรสะท้อนวิถีไทยครั้งที่ 7

ผู้แต่ง

  • นิภา กู้พงษ์ศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พีร์ ภานุวัฒน์วนิชย์ ภาควิชาภาพยนตร์คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ, โครงการเรียนรู้แดนมังกรสะท้อนวิถีไทยครั้งที่ 7

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล 3 ประเภทได้แก่ เพศ เกรดเฉลี่ย (GPA) และภูมิลำเนาที่มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ต่อคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการได้แก่ ความขยัน (ความอุตสาหะ) ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความสุภาพ ความมีน้ำใจ ความสามัคคี ความสะอาดและเปรียบเทียบคุณธรรมของนักศึกษาก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการเรียนรู้แดนมังกรสะท้อนวิถีไทย ครั้งที่ 7 ปีการศึกษา 2557 ประชากรจำนวน 21 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม คุณธรรมพื้นฐาน แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำผลการวิเคราะห์พบว่า 1)นักศึกษาหญิงมีระดับการกระทำหรือ ความคิดเห็นต่อคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โดยรวมสูงกว่านักศึกษาชายยกเว้นด้านความประหยัด นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 จะมีระดับการกระทำหรือความคิดเห็นต่อคุณธรรมพื้นฐานด้านความมีวินัยหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นในขณะที่นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 2.50 มีระดับการกระทำหรือความคิดเห็นต่อคุณธรรมพื้นฐานด้านความมีวินัยหลังเข้าร่วมโครงการลดลง นอกจากนี้นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ มีระดับการกระทำหรือความคิดเห็นต่อคุณธรรมพื้นฐานด้านความมีวินัยสูงกว่านักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอื่น 2) นักศึกษามีระดับการกระทำหรือความคิดเห็นต่อคุณธรรมพื้นฐานด้านความซื่อสัตย์ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ปฏิรูปการศึกษากับ8คุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝัง. สืบค้น 8 กรกฎาคม2558, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail

ชนิสรา ศิลานุกิจ. (2550). การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย รามคำแหง, สืบค้น 1 กรกฎาคม 2558, จาก http://dric.nrct.go.th/bookdetail.php?book_id=184011

บุญสม โพธิ์เงิน. (2536). คุณธรรมในการอยู่ร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้น 20 มิถุนายน 2558, จาก http://www.thaithesis.org/detail.php?id=47558

เพ็ญศรี สำราญรัตน์. (2553). การพัฒนาประสิทธิผลคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 13 คุณลักษณะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ (สาขาสารภี). สืบค้น25 มิถุนายน 2557, จาก http://spcmpoly.ac.th/New1/research%20teacher50/pensri.pdf

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2552). รู้จักม.กรุงเทพ. สืบค้น 25 มีนาคม 2558, จาก http://www.bu.ac.th/tha/about-bu.html

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2549). การศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมคุณธรรมเกี่ยวกับความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ให้กับนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนในเครือเซนต์ปอลเดอชาร์ตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. สืบค้น 20 มิถุนายน 2558, จาก http://dric.nrct.go.th/bookdetail.php?book_id=191639

ศรัณพร ชวนเกริกกุล. (2555). ผลการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ด้านความขยันความเมตตา และความเสียสละในวิชาการสื่อสารการตลาด. สืบค้น 20 มิถุนายน 2558, จาก http://ca.krirk.ac.th/workings/teacher/.pdf.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร พูนชัย, นัยนา วงศ์สายตา, และกุสุมา กังหลี. (2553). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงรายวิชาแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการ พยาบาล นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “ผลการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมระดับอุดมศึกษา” 28 เมษายน 2553 ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เกษมศานต์ กิดากร และอภิญญา หิรัญวงษ์. (2550). พฤติกรรมทางจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์, 14(1), 104-115.

สุธา เจียรนัย กุลวานิช. (2553). การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมแบบชาวพุทธ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ“ผลการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมระดับอุดมศึกษา” 28 เมษายน 2553 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: โครงการวิถีการเรียนรู้ของคนไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). รายงานการวิจัยประเมินผลคุณธรรม 8 ประการของผู้เรียน: เจตคติและพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท เพลิน สตูดิโอ จำกัด.

องุ่น พูลทวี. (2538). การศึกษาบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษาเขตการศึกษา1. สืบค้น 20 มิถุนายน 2558, จาก http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082538000044

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03