อิทธิพลของบทบาทและคุณลักษณะงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้บรรยากาศ โรงเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สังเวียน อ่อนแก้ว
  • กานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์
  • สนั่น ประจงจิตร

คำสำคัญ:

อิทธิพลบทบาทของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้, คุณลักษณะงานของหัวหน้ากลุ่ม, สาระการเรียนรู้บรรยากาศโรงเรียน, ประสิทธิภาพการสอนของครู, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของบทบาท และคุณลักษณะงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ บรรยากาศโรงเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,082 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL

ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมต่อบรรยากาศโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.23 คุณลักษณะงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมต่อ บรรยากาศโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.42 และบรรยากาศโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพการสอนของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.29 (2) บทบาทของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพการสอนของครูอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.21, 0.07 และ 0.28 ตามลำดับ และคุณลักษณะงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพล รวมต่อประสิทธิภาพการสอนของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.27, 0.12 และ 0.39 ตามลำดับ (3) การพัฒนารูปแบบอิทธิพลของบทบาทและคุณลักษณะงานของ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ บรรยากาศโรงเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (X2 = 298.78, df = 145, X2/df = 2.06, P-value = 0.00, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, CFI = 0.99, SRMR = 0.032, RMSEA = 0.031) โดยรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้ อธิบายความแปรปรวนของบรรยากาศ โรงเรียนได้ร้อยละ 39 และอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ 46

References

เกรียงศักดิ์ สุวรรณวัจน์. (2549). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มศึกษานิเทศก์ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ. (2551). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนและความผูกพันต่อวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาตรี พัฒนเลิศพันธ์. (2546). ปัจจัยด้านคุณลักษณะงานที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงาของพนักงานสอบบัญชี ในสำนักงานสอบบัญชีซี ดี ไอ เอ. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

ธำนินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. บริษัท วี. อินเตอร์พริ้น จำกัด.

ธีรเดช ฉายอรุณ. (2557). Path Analysis. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2557, จาก http://www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=811

เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล (ปริญญานิพนธ์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3.) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยกลุ่มสาระการเรียนรู้และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทาง สังคมในที่ทำงานและตัวแปรผลทาง ด้านจิตพิสัยของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเรือง อูปเฮียง. (2550). ภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามทัศนะของครูโรงเรียน สามัคคีวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2551). การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความมีประสิทธิผลของทีมโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03