การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะองค์การแห่งการเรียนรู้ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จิระพงค์ เรืองกุน

คำสำคัญ:

องค์การแห่งการเรียนรู้, บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามทางไปรษณีย์จากกลุ่มตัวอย่าง 179 องค์การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยนั้นมีจุดแข็งในแง่ของคุณลักษณะและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ใน 3 ประการ ได้แก่ การมีภาวะผู้นำที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีเข้ามา ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และการเชื่อมโยงระบบการเรียนรู้ไปยังลูกค้า ชุมชน และสภาพแวดล้อม ของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการวิจัยยังสะท้อนให้เห็นอุปสรรคของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประการสำคัญ ได้แก่ การที่พนักงานยังไม่ได้มองว่าปัญหาในการทำงานเป็นโอกาสสำหรับการเรียนรู้ และยังไม่ค่อยมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับความผิดพลาดและประโยชน์จากการเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น รวมทั้งพนักงานยังไม่ค่อยยอมรับที่จะให้ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานที่ผิดพลาดของตัวเอง ในตอนท้ายของบทความผู้วิจัยเสนอให้บริษัทมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างวัฒนธรรม แบบเปิดเผย ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดกว้างในความคิด และการถกเถียงกันของบรรดาสมาชิกในบริษัท ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งควรนำโปรแกรมการสร้างความสมดุล ระหว่างชีวิตกับการทำงานเข้ามาใช้ เพื่อเชื่อมโยงระบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของ พนักงาน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

References

เกศรี ลีลาศรีบรรจง. (2554). การประเมินองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556, จาก http://www.set.or.th/th/company/companylist.html

ธานินทร์ สุวงศ์วาร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในงาน (Job Involvement): กรณีศึกษาของบริษัทเอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด. สุทธิปริทัศน์, 23(72), 79-101.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบไทยๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์, และ พลาพรรณ คำพรรณ์. (2550). องค์การกับการจัดการความรู้: ศึกษาองค์การที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กรรณิการ์ สุขเกษม, โศภิต ผ่องเสรี, และ ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. (2551). แบบจำลองสมการโครงสร้าง: การใช้โปรแกรม LISREL, PRELIS และ SIMPLIS (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุธีรา อะทะวงษา, และ สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2557). คุณลักษณะของการเปน็ ผ้ปูระกอบการและลักษณะของสถานประกอบการทีมี่ผลต่อความเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 28(85), 61-79.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตตรวรรณา, และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงดีการพิมพ์.

เสรี ชัดแช้ม, และ สุชาดา กรเพชรปาณี. (2546). โมเดลสมการโครงสร้าง Structural Equation Modeling. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา, 1(1), 1-24.

Basim, H. N, Sesen, H., & Korkmazyurek, H. (2007). A Turkish translation, validity and reliability study of the dimensions of the learning organization questionnaire. World Applied Sciences Journal, 2(4), 368-374.

Diamantopous, A., & Siguaw, J. D. (2000). Introducing lisrel: A Guide for the Uninitiated. Thousan Oaks. CA: Sage.

Dymock, D., & McCarthy, C. (2006). Toward a learning organization? Employee perceptions. The Learning Organization, 13(5), 525-537.

Edmonson, A. (1999). Psychological safety and learning behavior in work teams. Administrative Science Quarterly, 44, 350-383.

Gefen, D., Straub, D., & Marie-Claude, B. (2000). Structural equation modeling techniques and regression: Guideline for research practices.

Retrieved October 31, 2013 from www.cis.gsu.edu/dstraub/Papers/Resume/Gefenetal2000.pdf.

Hannah, S. T., & Lester, P. B. (2009). A multilevel approach to building and leading learning organization. The Leadership Quarterly, 20, 34-48.

Hernandez, M. (2003). Assessing tacit knowledge transfer and dimension of learning in Columbian business. Advances developing Human Resource, 5(2), 215-221.

Jamali, D., Sidai, Y., & Zoueim, C. (2009). The learning organization: tracking progress in developing country: A comparative analysis using the DLOQ. The Learning Organization, 16(2), 103-121.

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the learning organization: Exploring a model of organizational learning. (Doctoral Dissertation). Baton Rouge: Louisiana State University.

Kumar, N., & Idris, K. (2006). An examination of educations institutions’ knowledge performance: analysis, implication, and outlines for future research. The Learning Organization, 13(1), 96-117.

Nunnally, J., & Bernstein, I. (1994). Psychometric Theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Senge, P. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Century Business.

Watkins, K. E., & Marsick, V. J. (1993). Sculting the learning organization: Lesson in the art and science of systematic change. Sanfrancisco: Jossey-Bass.

Watkins, K. E., & Marsick, V. J. (1996). In action: Creating the learning organization. Alexandria, VA: American Society for Training and Development.

Weldy, T. G., & Gillis, W. E. (2010). The learning organization: variations at different organizational levels. The Learning Organization, 17(5), 455-470.

Yang, B. (2003). Identify valid and reliable measure for dimension of learning culture. Advance in Developing Human Resource, 5(2), 162-182.

Yang, B., Watkins, K. E., & Marsick, V. J. (2004).The construct of the learning organization: dimension, measurement, and validation. Human Resource Development Quarterly, 15(1), 31-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03