การให้บริการและความต้องการบริการสาธารณสุขในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พอพล อุยยานนท์

คำสำคัญ:

บริการสาธารณสุข, มาบตาพุด

บทคัดย่อ

บทความนี้ใช้ทั้งแบบสอบถามและแบบจำลองโลจิต (Logit Model) เพื่อวิเคราะห์ระบบ บริการสาธารณสุขในมาบตาพุดร่วมกัน ผลการศึกษาในแบบจำลองโลจิตพบว่า สถานที่ทำงานเป็น ปัจจัยที่ศึกษาปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อแบบจำลองทั้ง 3 ขั้นตอน ได้แก่ โอกาสในการป่วย โอกาส ในการพบแพทย์ และโอกาสในการเป็นผู้ป่วยในของประชากรในมาบตาพุด ขณะที่อายุเป็นปัจจัยที่ สำคัญรองลงมา ขณะที่ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า ปัญหาการให้บริการสาธารณสุขของ โรงพยาบาลมาบตาพุดที่สำคัญที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระบบการให้บริการยังล่าช้า แพทย์และ พยาบาลมีไม่เพียงพอและความไม่สะดวกสบายในสถานที่ ปัญหาในการใช้บริการของคลินิก คือ ค่าใช้จ่ายสูง คนใช้บริการมาก สถานที่คับแคบ และไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ปัญหาในการใช้บริการของ สถานีอนามัยคือ ผู้ใช้บริการมาก บริการล่าช้า ขาดแคลนแพทย์และเจ้าหน้าที่ ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ที่สุดในการปรับปรุงบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลมาบตาพุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ปรับปรุง ระบบการให้บริการให้รวดเร็วมากขึ้น ปรับปรุงสถานที่ให้กว้างขวางและสะดวกสบายมากขึ้น และเพิ่ม จำนวนแพทย์และพยาบาล ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงคลินิกคือ เพิ่มแพทย์เฉพาะทาง ปรับปรุง การให้บริการและขยายสถานที่ และข้อเสนอแนะการปรับปรุงสถานีอนามัยคือ ปรับปรุงการให้บริการ เพิ่มแพทย์และพยาบาล ตลอดจนยาและเครื่องมือแพทย์ สำหรับข้อเสนอแนะของการศึกษานี้ คือ (1) การเพิ่มบุคลากรด้านสาธารณสุขทั้งแพทย์และพยาบาล เพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (2) ปรับปรุงสถานที่ของโรงพยาบาลมาบตาพุดปัจจุบันตลอดจนเพิ่มสถานีอนามัย และ (3) ควรมี การจัดตั้งกองทุนสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

References

คมสัน สุริยะ. (2551). แบบจำลองโลจิต: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์. ศูนย์วิเคราะห์เชิงปริมาณ. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). เศรษฐศาสตร์ประยุกต์: งานสุขภาพและสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2546). วิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มัทนา พิรามัย และคณะ. (2537). การศึกษารูปแบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อหลักประกันทางสังคม: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI).

สมชาย สุขสิริเสรีกุล. (2551). เศรษฐศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้นจำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). รายงานการศึกษาเบื้องต้นประชากรแฝงในพื้นที่จังหวัดระยอง. นนทบุรี: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การศึกษาเบื้องต้น: ศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมของพื้นที่มาบตาพุด. นนทบุรี: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

Garter, P & Hammer, J (1997). Strategies for Pricing Publicly Provided Health Services. Policy Research Working Paper 1762. Washington D.C: World Bank Group.

Janssen, R. (1992). Time Price and the Demand for GP Service. Social Science and Medicines. 34(7), 725-733.

Phelps, C.E. (1992). Health Economics. New York: Harper Collins.

Ringel J. S, Hosek S.D., Mahnovski. S, & Vallaarg, B.A. (2002) The Elasticity of Demand for Health Care: A Review of the Literature and Its Application to the Military Health System. Prepared for the Office of the Secretary of Defense.

Rojvanit, A. (1993). Pricing Policy of Public Hospitals. Faculty of Economics. Bangkok: Thammasat University.

Suksiriserekul, S. (1987). The Demand for Hospital Service in Thailand: A Case Study of Khon Kean Provincial Hospital. M.A. Thesis. Bangkok: Thammasat University.

Supakankunti, S. (2001). Determinants of Demand for Heath Card in Thailand. Washington D.C: NNP Discussion Paper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03