รายการคำศัพท์พื้นฐาน 1,000 คำ ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม (SC 103) สำหรับนักศึกษาชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และสร้างคำศัพท์พื้นฐาน 1,000 คำ ที่ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม (SC 103) สำหรับนักศึกษาชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชาวจีนทั้งหมดที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม (SC 103) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความเข้าใจคำศัพท์ภาษาไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ตอนที่ 2 ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาไทยของนักศึกษา ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคำศัพท์ที่นักศึกษาเห็นว่าควรทราบเพิ่มเติม รายการคำศัพท์ที่คัดเลือกได้จำนวน 1,000 คำ จะนำมาวิเคราะห์จัดกลุ่มตามความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของคำศัพท์ที่ปรากฏกับจำนวนนักศึกษาที่ไม่เข้าใจคำศัพท์แต่ละคำ
ผลการวิจัยพบว่า รายการคำศัพท์ที่ได้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,013 คำ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏใช้มากและนักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใจ มีจำนวน 16 คำ คิดเป็นร้อยละ 1.58 ในจำนวนนี้เป็นคำศัพท์ทั่วไปทั้งหมด กลุ่มที่ 2 กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏใช้มาก แต่ นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ มีจำนวน 69 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.82 แบ่งออกเป็นคำศัพท์เฉพาะ 3 คำ คำศัพท์ทั่วไป 66 คำ และกลุ่ม 3 กลุ่มคำศัพท์ที่ปรากฏใช้น้อยและนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ มีจำนวน 928 คำ คิดเป็นร้อยละ 91.60 แบ่งออกเป็นคำศัพท์เฉพาะ 270 คำ คำศัพท์ทั่วไป 658 คำ
References
กษมาวรรณ ป้อมเมือง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในหลักสูตรที่ใช้ภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุสุมา รักษมณี. (บ.ก.). (2544). Collins COBUILD new student’s dictionary: พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยฉบับนักเรียนนักศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จาง จวิน. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบบทขยายแสดงเวลาและสถานที่ระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยเพื่อการสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชาลี ศรีพุทธาธรรม. (2548). การพัฒนาบทเรียนเสริมทักษะการพูดคำไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยเทคนิคท่องจำคำสัมผัสสำหรับชาวต่างชาติที่พูดภาษาจีนเป็นภาษาแม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพิมล ผลินกูล และกนกอร ตระกูลทวีคูณ. (2555). พจนานุกรมยุคดิจิตอล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2553). การกำหนดคำศัพท์พื้นฐานภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศระดับต้น (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลู่ เซิน. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนการออกเสียงภาษาไทย โดยใช้สัทอักษรและปฏิสัมพันธ์สำหรับนักศึกษาจีน. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(1), 122-142.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). โครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมไทยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.sri.cmu.ac.th/~srilocal/research_a/DATA/53_C.html
สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์. (2552). การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไข (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
______________________. (2553). ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีการศึกษา 2551-2551 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
เหวย ซีน. (2553). ความคิดเห็นของอาจารย์ นักธุรกิจ และนักศึกษาจีน ต่อการเรียนภาษาไทยในมณฑลกว่างซีเพื่อประกอบอาชีพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Coxhead, A. (2000). A New Academic Word List. TESOL Quarterly, 34(2), 213-238.
Le Ha, P. (2005). Munby’s ‘needs analysis’ model and ESP. Retrieved June 10, 2011, from http://www.asian-efl-journal.com/pta_october_07_plh.php
Nunan, D. (1988). The learner-centred curriculum. Cambridge: Cambridge University Press.
Ogden’s Basic English. (2008). Readings in Ogden’s Basic English : Examples written in Basic English. Retrieved June 10, 2011, from http://ogden.basic-english.org/readings.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น