รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การบริหารจัดการสถานศึกษา, รูปแบบการบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีขนาดและความพร้อมแตกต่างกัน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมตามขนาดและความพร้อม และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายใน การส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามขนาดและความพร้อม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 31,255 โรง สุ่มตัวอย่างด้วยตารางของ Yamane (1967) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ จำนวน 395 โรง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ประธาน กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง สถานศึกษาละ 4 คน รวม จำนวน 1,805 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ แบบสอบถามปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกต และแบบสังเคราะห์เอกสาร รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการศึกษากรณีสถานศึกษา 8 แห่ง ด้วยการศึกษาเอกสาร สังเกต และสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสาร จากนั้นจึงร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนำรูปแบบไปสนทนากลุ่ม ปรับปรุงและตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา สถานศึกษาขนาดกลางและขนาดเล็กโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยังไม่มีความพร้อมเพียงพอทั้งด้านครู งบประมาณ วิชาการ ความรู้ และเทคโนโลยี 2) รูปแบบการ บริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมตามขนาดและความพร้อม คือ รูปแบบการบริหารจัดการที่ใช้การมีส่วนร่วมเป็นฐาน 3) นโยบายสนับสนุนการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามขนาด และความพร้อมคือ นโยบายด้านการนำรูปแบบไปใช้ การขับเคลื่อน และการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ
References
ธงชัย ชิวปรีชา. (2551). แนวทางการบริหารโรงเรียนนิติบุคคลในกำกับของรัฐ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2555). บรรณาธิการ. การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน: ประสบการณ์จากการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: DPU Cool print.
นคร ตังคะภิภพ. (2553). รูปแบบสถานศึกษานำเสนอต่อคณะทำงานศึกษาระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมต่อสุขภาวะคนไทย. (เอกสารอัดสำเนา)
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). รายงานข้อเสนอทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การจัดกลุ่มขนาดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (นายสุชาติ ธาราดำรงเวช). (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2555). เอกสารโครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา. (เอกสารอัดสำเนา).
อุทัย บุญประเสริฐ. (2553). การศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement: An International Handbooks. New York: Harvard Business School Press.
UNESCO . (1996). Learning: The Treasures Within. Paris: UNESCO Publishing.
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. N.J.: Prentice – Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น