การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์อิงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษาในโครงการภาษาอังกฤษของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์
คำสำคัญ:
หลักสูตรคณิตศาสตร์, หลักสูตรอิงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, โครงการภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์อิงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารระดับประถมศึกษาในโครงการภาษาอังกฤษของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ มุ่งรวบรวมเว็บไซต์ที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ในหลักสูตรคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่สอดคล้อง กับหน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยผู้วิจัยได้รวบรวมสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรคณิตศาสตร์โดย ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา แล้วทำการวิเคราะห์ความต้องการในหลักสูตรคณิตศาสตร์อิงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษาในโครงการภาษาอังกฤษของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์โดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นกลุ่มครูผู้สอนคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 12 คน เป็นครูผู้สอนชาวไทย 6 คน ครูผู้สอนชาวต่างประเทศ 6 คน เพื่อหาสาระการเรียนรู้ที่ต้องการแล้วจึงรวบรวมเว็บไซต์ที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับหน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ หลังจากนั้นได้ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านการพัฒนาหลักสูตร การสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน โดยผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนั้น มาหาความสอดคล้องกับองค์ประกอบที่ต้องการวัด และความเหมาะสม ของเว็บไซต์ที่เป็นทรัพยากร การเรียนรู้ในหลักสูตรคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาว่าสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในแต่ละระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความสอดคล้องที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 2) ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าทรัพยากรการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มีเนื้อหาที่ทันสมัย มีประโยชน์ต่อผู้สอนในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน และมีความยากง่ายเหมาะสมกับความสนใจและวัยของผู้เรียน
References
กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีการวิจัย 1. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ็น.การพิมพ์.
สิริพร ทิพย์คง. (2541). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในยุคโลกาภิวัฒน์. น. 63-78. สาระการศึกษาการเรียนการสอน.
กรุงเทพมหานคร: กองทุน ศ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักปลัดฯ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับประเทศ. สืบค้น 10 สิงหาคม 2554, จาก http://www.moe.go.th/data_stat/Download_Excel/Spacific_Use_Data/Learning_Achievement2547.xls.
Bilingual Elementary School of Monza. (1995). Bilingual Education. Retrieved August 15,2011, from http://www.playenglish.it/En_El/en_ElemtEB.htm.
Deadman, G. (2002). ICT and Mathematics. Retrieved August 15,2011, from http://ecs.lewisham.gov.uk/talent/pricor/maths.html.
Ministry of Education. (2006). Mathematics in the New Zealand Curriculum. Retrieved
August 15,2011, from http://www.minedu.govt.nz/web/downloadable/dl3526_v1/math-nzc.pdf.
National School Boards Association. (1995). Importance of Technology. Retrieved August 15,2011, from http://www.nsba.org/sbot/toolkit/iot.html.
New Jersey Mathematics Coalition. (1996). New Jersey Mathematics Curriculum Framework. Retrieved August 16,2011, from http://dimacs.rutgers.edu/nj_math_coalition/framework/standards/std_vision.html.
Reed, D. S. & McNergney, R. F. (2000). Evaluating Technology-Based Curriculum Materials Retrieved August 16,2011, from http://www.ericdigests.org/2001-3/based.htm
Riedesel, A. C. (1990). Teaching elementary school mathematics. New Jersey: Prentic Hall.
Saylor, J. G. & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for School. New York: Holt Rinehart and Winston.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977).On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2,49-60.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace, Jovanovich.
Wright, J. L. & Shade, D. D. (1994) . Young Children: Active Learners in a Technological Age. Washington, D.C.: National Association for the Education of Young Children.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น