การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บระดับประถมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ธนาดล สมบูรณ์ สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมถวิล ธนะโสภณ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บ, การเรียนรู้ผ่านเว็บ, แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บ ระดับประถมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บระดับประถมศึกษาตอนต้น 2) ประเมินแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บระดับประถมศึกษาตอนต้น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ขั้นพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) ขั้นประเมินแหล่งเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 คน เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้ง 3 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาสาระความรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 9 คน เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 2 คน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนต้น 5 คน และศึกษานิเทศก์ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บ ระดับประถมศึกษาตอนต้น 2 ชุด คือ สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาสาระความรู้วิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย คือ 1)ได้แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บระดับประถมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย 5 เมนูหลัก ได้แก่ เมนูแผนการสอนเมนูเทคนิคการสอนเมนูสื่อการสอนเมนูการวัดและประเมินผล และเมนูแหล่งความรู้ระหว่างเมนูหลักและเมนูย่อยสามารถเชื่อมโยงกันได้ 2)ได้ผลการประเมินด้านรูปแบบและการนำเสนอ ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์ทันสมัย ความยาวหน้าเว็บมีความเหมาะสม จัดวางข้อความบนหน้าเว็บไซต์ รูปแบบและขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสม การนำเสนอข้อมูล เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์อ่านเข้าใจง่าย ภาษาที่ใช้สื่อความหมายชัดเจน ภาพประกอบสอดคล้องกับเนื้อหา การเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถเข้าค้นข้อมูลที่ต้องการได้หลายทาง ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.90 รายการประเมินอยู่ในระดับดีมากทุกรายการ 3) ได้ผลการประเมินด้าน เนื้อหาสาระความรู้วิทยาศาสตร์ ทั้ง 5 เมนูหลัก ได้รับการประเมินผลอยู่ในระดับดีมาก สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายมีทางเลือก ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลวิทยาศาสตร์มีความทันสมัย และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลามีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 3.24

References

กอบกุล สรรพกิจจำนง. (2546). สื่อการสอน. บทเรียนชุดวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. [Online].Availablefrom: http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=learn&chapter=5.

ถนอมพร เหล่าหจรัสแสง.(2544).การสอนบนเว็บ (Web besed Instruction) นวัตกรรมการเรียนการสอน [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http:www.Thaicai.con/articles/wbi2.html.

วรรณภา แสงวัฒนะกลุ .(2541).การพัฒนาระบบสารสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับนักวิชาการอุดมศึกษาของประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2555).เอกสารสถิตการศึกษาฉบับย่อ 2555. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2550).โครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(OECD): http://www.ipst.ac.th/pisa/pisa2html)

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2550). สถิติคะแนน การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). การประชุมทางวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติครั้งที่ 15 เรื่องการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดอีเลฟเว่น สตาร์อนิเตอร์เทรด.

สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์. (2544). E-learning การศึกษา (online). Available : http://www.uplusolution.comcontent.php?ct_id=33 [2009, February 20].

Bennett, L. M. (1966). Current Practice in Science Teaching in Junior High School of Taxas Science Education. 2 March.: 142-151

Hannum, W. (1998). Web based instruction lessons. [On-Line]. Available://www.soe.unc.edu/edci 111/8-89/index WB12.HTM,june 30, 2003.

Huges, K. (1994). Entering the World-Wide Web: A Guide to Cyberspace. Enterprise Integration Technologies, palo Alto, calif. p. l-35. http//aggic-horticulture.camu.edu/www.guide/guide.toc.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08