สภาพปัญหาแนวทางการจัดการความขัดแย้ง และความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยของศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • นิติพล ธาระรูป
  • ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า

คำสำคัญ:

เจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง สภาพปัญหาแนวทางการจัดการความขัดแย้ง และความสำเร็จในการไกล่เกลี่ย ของศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาความขัดแย้งของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความขัดแย้งของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์สันติวิธีและ ธรรมาภิบาล นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยเป็นงานแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและ การวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ข้อมูลได้ถูกรวบรวมจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จำนวน 390 คน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบบมีโครงการสร้างจากอาจารย์ผู้ทำหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ยจำนวน 6 คนและคู่พิพาท 20 คน

ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีสาเหตุความขัดแย้งด้านข้อมูล สำหรับแนวทางการจัดการความขัดแย้งของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า มีแนวทางการจัดการความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการ เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า 1. คุณลักษณะของผู้เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ประกอบด้วยการมีจิตวิญญาณของนักสันติวิธี, การมองเห็นความดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์, การยึดมั่นในหลักความเป็นธรรม, การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและความเข้าใจพฤติกรรมของนักศึกษา 2.กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พบว่า การเกิดจุดคานงัดของแนวคิดการดำเนินงานด้านวินัยนักศึกษา และการดำเนินกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทอย่างมีกลยุทธ์ 3.ถ้าคู่พิพาทรู้สึกความสำนึก ตระหนักรู้และรับผิดชอบในการกระทำของตัวเองการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสามารถทำได้ง่ายปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความสำเร็จในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์สันติวิธีและ ธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4.ถ้าคู่พิพาทมีส่วนเกี่ยวข้องในสถานการณ์การเจรจาไกล่เกลี่ยจะทำได้ง่ายทั้งหมด คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเจรจาไกล่เกลี่ยของศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

เกรียงไกร รอบรู้. (2557). แนวทางการกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวินัยนักศึกษา: กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษา เอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(86),173-192.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเจรจาไกล่เกลี่ย. วารสารศาลยุติธรรมปริทัศน์, 6(2), 14.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ฐิติ ลาภอนันต์. (2557). อาจารย์ประจำศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์. 29 มกราคม 2557.

นเรศ สุนทรชัย. (2557). อาจารย์ประจำศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์. 29 มกราคม 2557.

เมเยอร์, เอส., (2553).พลวัตรการจัดการความขัดแย้ง: คบไฟ [The dynamics of conflict resolution: a practitioners guide] (บรรพต ต้นธีรวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. 1946).

วรวุฒิ สวัสดิชัย. (2557). อาจารย์ประจำศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์. 29 มกราคม 2557.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

วันชัย วัฒนศัพท์, ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์, และ สุวธิดา ศรียะพันธุ์.(2548). คู่มือการเจรจาไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2556). แบบบันทึกผลการดำเนินงานของศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.

ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2557). เอกสารประกอบการประชุม [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540).ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

อติชาต ตันเจริญ. (2557). อาจารย์ประจำศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สัมภาษณ์. 29 มกราคม 2557.

Bono, E. (1987). The Six Thinking Hats. Boston: Little Brown.

Bushman, J. (2002). Does Venting Anger Feed or Extinguish the Flame? Catharsis, Rumination, Distraction, Anger, and Aggressive Responding. Retrieved March 26, 2014, from http://goo.gl/fSMEK9

Cooley, J.W., (1992). Mediation and Joke Design: Resolving the Incongruities. Journal of Dispute Resolution, 28(1), 287-290.

Crawford, D., & Bodine, R. (1996). Conflict resolution education: preparing youth for the future. Report to Office of Juvenile Justice and Delinquency Prevention. Washington: Department of Justice.

Goleman, D. (2012). Emotional Intelligence: 10th Anniversary Edition. New York: Random House LLC.

Kestner, P. B., & Ray, L. (2002). The Conflict Resolution Training Program: Leader's manual. San Francisco: Jossey-Bass.

Lewicki, R. J., Saunders, M. D. & Bruce, B., (2006). Negotiation. California: McGraw-Hill.

Pneuman, R., & Bruehl, E. (1982). Managing Conflict: A Complete Process - Centered Handbook. Pennsylvania: Prentice - Hall.

Richmond, O. (2006). Devious objectives and the disputants view of international mediation: a theoretical framework. Journal of Peace Research, 6(35), 169-172.

Schermerhorn, R., James. G., & Richard. N. (1997). Organizational Behavior. San Francisco: John Wiley & Sons.

Thomas, K.W., & Kilmann, R.H. (2001).Thomas-Kilmann Conflict Mode Instrument Profile and Interpretive Report. Retrieved May 10, 2013, from https://www.cpp.com/Pdfs/smp248248.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08