อิทธิพลภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ผ่านวัฒนธรรมโรงเรียน การจัดองค์การในโรงเรียนและการปฏิบัติงานของครู ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • คณิต เจียรกลาง
  • วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน, ตัวแปรคั่นกลาง, วัฒนธรรมโรงเรียน, การจัดองค์การในโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบของอิทธิพลภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนผ่านวัฒนธรรมโรงเรียน การจัดองค์การในโรงเรียนและการปฏิบัติงานของครู ที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ตรวจสอบรูปแบบของอิทธิพลภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนผ่านวัฒนธรรมโรงเรียนการจัดองค์การในโรงเรียนและการปฏิบัติงานของครู ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เปรียบเทียบรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 296 โรงเรียน ประกอบด้วยครูผู้สอน ซึ่งเป็นผู้ตอบ แบบสอบถามจำนวน 783 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 119 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนผ่านวัฒนธรรมโรงเรียน การจัดองค์การในโรงเรียนและการปฏิบัติงานของครูที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพผู้เรียนสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเป็นแบบเชิงระบบเปิดและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพผู้เรียนผ่านวัฒนธรรมโรงเรียน และการปฏิบัติงานของครู และ 3) รูปแบบภาวะ ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนแตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน โดยโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวแบบเชิงระบบเปิด ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวแบบเชิงมนุษยสัมพันธ์

References

ครูบ้านนอกดอทคอม. (2551). หน้าที่และความรับผิดชอบของครู. สืบค้นเมื่อ10 มกราคม 2557, จาก http://www.kroobannok.com/2603.

พนม พงษ์ไพบูลย์. (2550). การศึกษาคือปัจจัยที่ 5 ของชีวิต. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2555, จาก http://www.amazonaws.com/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

__________.(2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

__________.(2556). แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). คู่มือครูพระราโชวาทในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่บัณฑิตวิทยาลัยครูทั่วประเทศ พุทธศักราช 2526 เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 55 พรรษา. กรุงเทพฯ: เอส เอ็มเซอร์คิทเพรส.

Bossert, et al. (1982). The instructional management role of the principal. Educational Administration Quarterly, 18(3), 34-64.

Bruggencate, G. T. H., Luyten., J. S., & Sleegers, P. (2012). Modeling the Influence of SchoolLeaders on Student Achievement :How Can School Leaders Make a Difference?. Educational Administration Quarterly, 48, 699-732.

Deal, J & Peterson, A (1990). The Principal’s Role in Shaping School Cultures. Washington, DC: US Department of Education.

Hallinger, P. & Heck, R. H. (1998). Exploring the principal’s contribution to school effectiveness: 1980–1995. School Effectiveness and School Improvement, 9, 157-191.

Hallinger, P., Bickman, L. & Davis, K. (1996). School context, principal leadership and student reading achievement. Elementary School Journal, 96, 527-549.

Heck, R. H., & Hallinger, P. (2000). Next generation methods for the study of leadership and school improvement. Educational Administration Abstracts, 35, 141-162.

Leithwood, K., Day, C., Sammons, P., Harris, A., & Hopkins, D. (2006). Successful school leadership: What it is and how it influences student learning (Research Report 800). London, UK: Department for Education.

Leithwood, K., & Levin., B. (2005). Understanding leadership effects on pupil learning. Toronto: Paper prepared for the UK Department of Skills and Education.

Lunenburg, F. & Ornstein, A. (2004). Educational Administration: Concepts and Practices (4th ed.). Belmont: Wadsworth/Thompson Learning.

Marquardt, M. J. (2002). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Marzano, R. J., Waters, T., & McNulty, B. A. (2005). School leadership that works: From research to results. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

Maher, M. C., Lucas, S. E., & Valentine, J. W. (2001). A model for understanding the influence of principal leadership upon teacher empowerment as mediated by school culture. Paper presented at the meeting of the American Educational Research Association, Seattle, WA.

Mulford, B., & Silins. H., (2003). Leadership for organisational learning and improved student outcomes – What do we know?. Cambridge Journal of Education, 33(2), 175-195.

Ohlson, M. (2009). Examining Instructional Leadership: A Study of School Culture and Teacher Quality Characteristics Influencing Student Outcomes. Florida Journal of Educational Administration & Policy. 2(2), 102-113.

Peterson, K.D. (2002). Positive or Negative. Journal of Staff Development, 23, 3.

Pounder, D. G., Ogawa, R. T. & Adams, E. A. (1995). Leadership as an organization-wide phenomena: Its impact on school performance. Educational Administration Quarterly, 31, 564-588.

Squires, A. & Kranyik, P. (1996). The Comer program: Changing school culture. Educational Leadership, 53(4), 29-32.

Thacke, J & McInerney, C (1992). Changing Academic Culture To Improve Student Achievement in the Elementary Schools. ERS SPECTRUM, 10(4), 18-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08