การผนวกความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหลักสูตรปริญญาตรีด้านการบัญชีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เอกพล คงมา คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

หลักสูตรปริญญาตรีด้านการบัญชี, ทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการผนวกความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหลักสูตรปริญญาตรีด้านการบัญชีในประเทศไทยว่ามีการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาสากลของสหพันธ์นักบัญชีนานาชาติหรือไม่ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการการผนวกความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว

วิธีการวิจัยประกอบไปด้วยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) การศึกษาจากเอกสารหลักสูตรปริญญาตรีด้านการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีให้การรับรอง (2) การทำแบบสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาตรีด้านการบัญชีจาก 112 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในด้านการจัดให้มีการเรียนการสอนให้ความรู้ทั่วไปในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ด้าน และ (3) การสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาตรีด้านการบัญชี 10 แห่งทั่วประเทศไทยและผู้ประกอบการในสถาบันที่มีการเรียนวิชาสหกิจศึกษา จำนวน 5 บริษัท ในด้านทักษะเพิ่มเติมที่จำเป็นและปัญหาอุปสรรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และสรุปผล

ผลการศึกษา พบว่า สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จัดให้มีเนื้อหาความรู้ทั่วไป ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ด้านอย่างเหมาะสม มีเพียงข้อสังเกตของการจัดให้มีเนื้อหาบางด้าน เช่น ด้านกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและด้านสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พบว่าถูกจัดให้อยู่ในหลักสูตรฯในระดับต่ำ ส่วนในด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีการนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสม มีเพียงปัญหาอุปสรรคบางด้าน เช่น ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรที่เกิดขึ้นส่วนน้อยในบางสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญต่อการจัดให้มีทักษะทางด้านการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทสเปรดชีทขั้นสูงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเข้าทำงานของนักศึกษาที่ทำงานด้านวิชาชีพบัญชีในอนาคต

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชีพ.ศ. 2553. สืบค้น 4 ธันวาคม 2556, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews6/account_m1.pdf.

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย และ ดนุชา คุณพนิชกิจ. (2555). IES 2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชี. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 34(134), 123-138.

รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2555). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรการบัญชีให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม. SDU Research Journal, 8(3), 132-146.

วิกิพีเดีย (2556). รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. สืบค้น 1 ธันวาคม 2556, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 1/2555 เรื่อง การรับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการรับสมัครเป็นสมาชิกสามัญ และการพิจารณาคุณสมบัติเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2555. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1363597630/1-2555-1.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2543). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://www.dbd.go.th/download/PDF_law/acc_prb2543.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359008707/act2547.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง ข้อกำหนดเพื่อเข้าสู่โปรแกรมการศึกษาทางวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359010350/1.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง เนื้อหาของโปรแกรมการศึกษาทางวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359010350/2.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2549). ข้อกำหนดสภาวิชาชีพบัญชี เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิการศึกษาของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2549. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://www.dbd.go.th/images/img/limitation_2549-02.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 6 (ฉบับปรับปรงุ )เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก – การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2555. สืบค้น 9 ธันวาคม 2556, จาก http://www.fap.or.th/images/column_1359010350/IES6_Thai_03Nov2014.pdf.

International Federation of Accountants. (2010). International Education Standard 2. July 2010. Retrieved December 14, 2013, from http://www2.ifac.org/system/files/publications/files/ies-2-content-of-professi.pdf.

International Federation of Accountants. (2003). International Education Guideline 11. January 2003. Retrieved December 14, 2013,from http://www2.ifac.org/publications-resources/handbook-international-educationpronouncments-2010-edition.

Hepp, P. K., Hinostroza, E. S., Laval, E. M. & Rehbein, L. F. (2004). Technology in Schools: Education, ICT and the Knowledge Society. October, 2004. Retrieved December 16, 2013, from http://documents.worldbank.org/curated/en/2004/10/5539604/technology-schools-education-ict-knowledgesociety

International Federation of Accountants. (2010). International Education Practice Statement. July 2010. Retrieved December 14, 2013, from http://www2.ifac.org/system/files/publications/files/iaesb-international-educati-3.pdf.

Lai, M. (2008). Technology readiness, internet self-efficacy and computing experience of professional accounting students. Campus-Wide Information Systems. 25(1), 18-29.

Marriott, N., Marriott, P. & Selwyn, N. (2004). Accounting Undergraduates’ Changing Use of ICT and Their Views on Using the Internet in Higher Education – a Research Note. Accounting Education: An International Journal. 13(1), 117-130.

Wolnizer, P. (2013). Education for the Next Generation of Professional Accountants. International Accounting Education Standards Board News. Retrieved December 13, 2013, from http://archive-rg.com/page/4529178/2014-09-05/http://www.ifac.org/news-events/2013-08/education-next-generation-professional-accountants

Wessels, P. L. (2005). Critical information and communication technology (ICT) skills for professional accountants. Meditari Accountancy Research, 13(1), 87-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09