พัฒนาการของวรรณคดีโศกาลัยในสมัยรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง

  • จตุพร มีสกุล สาขาวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุหลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุหลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วรรณคดีโศกาลัย, บทร้อยกรองไว้อาลัย, วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวรรณคดีโศกาลัยในสมัยรัตนโกสินทร์ในด้านประวัติ ความเป็นมาและพัฒนาการของวรรณคดีประเภทนี้ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า วรรณคดีโศกาลัยเป็นบทร้อยกรองที่มีเนื้อหาคร่ำครวญถึงผู้ที่เสียชีวิตด้วยความรู้สึกโศกเศร้าและอาลัยอาวรณ์ แต่งขึ้นในวาระพิเศษเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคตหรือพระบรมวงศานุวงศ์สิ้นพระชนม์ เป็นวรรณคดีประเภทใหม่ซึ่งเริ่มมีปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และมีพัฒนาการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะคร่ำครวญพรรณนาความโศกเศร้าอาลัยแล้ว ยังมุ่งสรรเสริญพระเกียรติและพระราชกรณียกิจ และบันทึกเหตุการณ์สำคัญและพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการถวายพระเพลิง พระบรมศพหรือการพระราชทานเพลิงพระศพอีกด้วย ทั้งนี้กวีอาจให้ความสำคัญแก่เนื้อหาเฉพาะ ประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นการพรรณนาอารมณ์

การแต่งวรรณคดีโศกาลัยแพร่หลายอย่างรวดเร็วในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากการขยายตัว ด้านการศึกษาและความเจริญของกิจการหนังสือพิมพ์ แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 วรรณคดีโศกาลัยซบเซาไประยะหนึ่งจากปัจจัยทางด้นการเมือง ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหมในรัชกาลปัจจุบัน สำหรับรูปแบบคำประพันธ์ที่กวีนิยมใช้แต่งวรรณคดีโศกาลัยมากที่สุดคือ กลอนสุภาพ รองลงมาคือ โคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี ตามลำดับ ส่วนจะมีความยาวเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการแต่งและการเผยแพร่เช่นในอดีตมุ่งเน้นการบันทึกพระราชพิธีหรือพระราชประวัติ ซึ่งมีเนื้อหามากจึงแต่งค่อนข้างยาว แต่ถ้าใช้สำหรับติดพวงมาลาหรือพิมพ์ในวารสารและหนังสือพิมพ์ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดจะมีขนาดสั้นลง

References

กรมคิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2554). ราชสกุลวงศ์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์มติชน. (2549). สยามพิมพการ: ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

กัมพุชฉัตร, พระองศ์เจ้าหญิง. (2543) นิพานวังน่า. กรุงเทพฯ: มดิชน.

คณะผู้จัดทำหนังถือดุสิตสมิต. (2529) อนุสสาวรียะ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส. ใน ดุสิตสมิต. เล่ม 2. ฉบับที่ 12-15 (พิมฬครั้งที่ 2) (น. 177-178). กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยฯ.

คณะผู้จัดทำหนังถือดุสิตสมิต. (2535). อนุสสาวรียะ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์. ใน ดุสิตสมิต. เล่ม 8. ฉบับที่ 80-92 (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 81-82). กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ.

คณะผู้จัดทำหนังถือดุสิตสมิต. (2539). อนุสสาวรียะ สมเด็พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระมหาสมณะเจ้า ใน ดุสิตสมิต. เล่ม 12. ฉบับที่ 132-143 (พิมพ์ครั้งที่ 2) (น. 33-34) กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ.

คณะผู้จัดทำหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. (6-9 มกราคม 2551) (สิ้นพระทูลกระหม่อมแก้ว). ฐานเศรษฐกิจ, 28, 1.

คณะผู้จัดทำหนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (5 มีนาคม 2539) (ส่งเสด็จสู่ห้วงสรวงสวรรค์) เดลินิวส์,1.

คณะผู้จัดทำหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ. (ตุลาคม 2472) อนุสสรณียกถา. สุภาพบุรุษ, (9), ข-ง.

คณะผู้จัดทำหนังสือแมคเอซิน วัฒนาวิทยา. (2462). สวรรค์คตแลพระเกียรติยศสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราขชนนี พระพันปีหลวง รัชกาลปัตยุบัน. แมคเอซิน วัฒนาวิทยา (จดหมายเหตุแสงอรุณ), 25(8), 399-400.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2525). ล้กษณะไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

คุณพุ่ม. (2464). เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

จิรพร วิทยคักดิ์พันธุ์. (2540). นโยบายวัฒนธรรมของจอมพล ป. พิบุลสงคราม. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ), จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่ (น.228-350). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลดา เรืองรักษลิขิด ในนาม วารสารราชบัญฑิตยสถาน. (2551). (ลับเอยลับแล้ว). วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 33(1), 3.

ชิต บุรทัต. (สิงหาคม 2466). สังเวคกถา. ศัพท์ไทย. เล่มที่ 3 ตอนที่ 1, หน้าพิเศษ.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2539). รังสรรค์อนามัย สาธารณสุข และการแพทย์. ใน ราชสดุดี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (น.107-114) กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมคิลปากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2516). คำนำ. ใน คำกลอนสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2524) ตำนานวังหน้า. กรุงเทพฯ: การุณการพิมพ์.

นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2468) กลอนสุภาพของกรมพระนราธิปประพันธพงศ์. ใน คำกลอนสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 (น1-6). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2470) พระประว้ติขัติยกวี ผู้ทรงนิพนธ์โคลงต่อไปนี้ ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์, โคลงสุภาพงารพระเมรุ พระบรมอัสถิสมเด็จพระเจ้าปฐมบรมมหาชนก (น. 1-6) พระนคร: โรงพิมพ์ไท.

นิธิ เอียวครีวงศ์. (2538) ปากไก่และใบเรือ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

นุจราธนะภูมิ. (28 กรกฎาคม-3 สิงหาคม 2538) (ร่างเล็กเล็กอ่อนล้ากลางป่าเขา). อาทิตย์รายสัปดาห์ 18(946), 4.

แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว. และคณะ. (2555). สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม เล่ม 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด.

ประยอม ซองทอง. (3 มกราคม 2551) (น้ำตาท่วมหัวใจไทยทั้งประเทศ) แนวหน้า, 1.

ปัทมาฑีฆประเสริฐกุล. (2557) เชียงชื่น: ความสำคัญที่มีต่อการสร้างวีรกรรมของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถใน ยวนพ่ายโคลงดั้น. วารสารสุทธิปริทัศน์. 28 (85), 283-284

พิชิตปรีชากร, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง. (2472). ฉันท์จารึกอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์. ใน ประชุมพระนิพนธ์กรมหลวงพิชิตปรีชากร (น. 75). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร.

พูนพิศมัยดิศกุล, หม่อมเจ้าหญิง. (2546) สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มติชน.

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554) นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2550). นามานุกรมวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ยุพร แสงทักษิณ. (2546). ยิ่งยศพระปิยมหาราชเรื้อง โลกซ้อง สดุดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

วงเดือน นาราสัจจ์ ชมพูนุท นาคีรักษ์ และสุวรรณา สัจจวีรวรรณ. (2553). ธิราชเจ้าจอมสยาม. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.

วิมลพรรณ ปิตธวัชชัย. (2553). เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984).

ศรีสุเรนทร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2512) โคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวง. ใน โคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวงพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศเธอกรมหมื่นศรีสุเรนทร์และตำหนักแพ (น. 1-38) พระนคร: โรงพิมพ์ชวมพิมพ์.

สุพรรณี วราทร. (2516). ประว์ตินวนิยายไทยตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิด). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แหล่เทศน์มหาพนกล่าวเรื่องสวรรคต. (2468) ใน คำกลอนสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 (น.61-64). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

อวยพร มิลินทางกูร. (2519). ลักษณะคำประพันธ์ร้อยกรองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2501(วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสดรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษณีย์ ธงไซย. (2540) พระราชพงศาวดารและพงศาวดาร หลักฐานที่สร้างขึ้นเพื่อสถาบันกษัตริย์. เซียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยคาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09