การแปรของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วีรวัฒน์ มีสมยุทธ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การแปร, เสียงวรรณยุกต์, ภาษาไทยถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรของเสียงวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของผู้พูด 2 ช่วงอายุ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของระบบวรรณยุกต์และสัทลักษณ์ของวรรณยุกต์ เก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยมาตฐานโดยใช้คำเดี่ยว ทดสอบจากคำศัพท์ที่มีโครงสร้างพยางค์ปิดเท่านั้น การวิจัยในครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากผู้บอกภาษาทั้งสิ้น 16 อำเภอ อำเภอละ 2 คน รวม 32 คน โดยแบ่งออกป็น 2 ช่วงอายุคืออายุ 15- 25ปี และอายุ 55 - 65 ปี ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรทางสังคมเรื่องของอายุมีอิทธิพลต่อระดับวรรณยุกต์ โดยผู้บอกภาษาอายุ 55 - 65 ปี เป็นกลุ่มอายุที่ยังคงใช้วรรณยุกต์ดั้งเดิมอยู่ ส่วนกลุ่มผู้บอกภาษาอายุ 15 25 ปี เป็นกลุ่มที่ไช้วรรณยุกต์รูปแปรมากที่สุด โดยบางวรรณยุกต์นั้นไม่มีการใช้รูปดั้งเดิม ผู้บอกภาษายิ่งมีอายุน้อยลง การศึกษายิ่งมากขึ้นผู้บอกภาษาอายุน้อยจึงใช้รูปมาตรฐานในการพูดในชีวิตประจำวันซึ่งแนวโน้มของภาษาในอนาคตนั้น ลักษณะของภาษาถิ่นอยุธยาจะค่อยๆหายไป และจะไม่มีการแบ่งภาษาถิ่นอยุธยาออกเป็นภาษาถิ่นย่อย ภาษาในอนาคตของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคาดว่าจะกลายเป็นภาษาเดียวและมีถิ่นเดียวกันทั้ง 16 อำเภอ

References

กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว. (2526a). ภาษาถิ่นเหนือ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กาญจนา คูวัตนะศิริ. (2528). ภาษาไทยถิ่น. เอกสารการนิเทศการศึกษ. หน่วยศึกษานิเทศก์. กรมการฝึกหัดครู.

ขนิษฐา ใจมโน. (2552). การแปรของวรรณยุกต์ในภาษาไทยลื้อ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชื่นหทัย สุริยโสภาพันธุ์ (2546). ค่าความถี่มูลฐานเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยของผู้ไว้กล่องเสียงประเภทหลอดอาหาร ตามระะเวลาในการฝึกพูดและการรับรู้เสียงวรรณยุกต์ของผู้ฟัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีชา สุขเกษม. (2546). การแปรและการเปลี่ยนแปลงในภาษากวย - กูย(ส่วย). วิทยานิพนธ์หลักสูตรอักษศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ระวี เรืองวัฒกี. (2551). การแปรทางสังคมของพยัญชนะควบกล้ำ (kw) และ (khw) ในภาษาไทยถิ่นตำบลบ้านแพรก อำภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พริ้มรส มารีประสิทธิ์. (2534). การแปรของเขตปรับเปลี่ยนภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ตามอายุของผู้พูด: การศึกษาคำ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี. (2541), สถานะของภาษาตากใบในภาษาถิ่น. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 4(2), 167-187.

ยาใจ มาลัยเจริญ. (2531). วรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์อักษร-ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รตญา กอบศิริกาญจน์. (2535). การแปรของวรรณยุกต์สูง-ตกในภาษาไทยถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ตามตัวแปรทางสังคมบางประการ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณทิตยสถาน. (2520) พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2537). พจนานุกรมศัพท์สัทศาสตร์. กรุงเทพฯ: เพื่อนการพิมพ์.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัตย์. (2532) แบบทดสอบระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาถิ่น. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2551). ภาษาไทยถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ, กันทิมา วัฒนะประเสริฐ.(2536). วิคราะห์การใช้คำและการแปรของภาษาของคนสามระดับอายุในชุมชนภาษาลาวลุ่มน้ำท่าจีน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

เสวีวร พรหมขุนทอง. (2549). สัทศาสตร์และสัทวิทยาในการอ่านทำนองเสนาะไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา-บัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรุณี อรุณเรือง. (2533) การแปรวรรณยุกต์โทในภาษาไทยกรุงเทพฯ ตามระดับอายุผู้พูด. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร-มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมร ทวีศักติ์. (2536). สัทศาสตร์. กรุงเทพฯ: สหมิกออฟเซท.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธิ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม พิมพ์ครั้งที่สาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธิ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์จุหลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

อารีวรรณ เลิศธนะ. (2548). การแปรของเสียงวรรณยุกต์โทตามเพศของผู้พูดในภาษาไทยกรุงเทพฯ และทัศนคติของผู้ฟัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์.

เอกพล กันทอง. (2550). การแปรของวรรณยุกต์ในภาษาไทถิ่นเชียงใหม่ตามกลุ่มอายุ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรอักษศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gedney, W.J. (1972). A Checklist for Determining Tones in Tai Dialects. In m. estellie Smith (Ed), Studies in Linguistics in Honor of George L.Trager. The Hague.

Tingsabadh, K.M.R. (1997). “Tones in Standard Thai Connected Speech.” Southeast Asian Linguistic Studies in Honour of Vichin Panupong. Chulalongkorn University Press, 297-307.

Labov, W. A. (1972). Sociolinguistic Patterns. Philadephia: University of Pennsylvania Press and Oxford: Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-13