ปัจจัยด้านการดำเนินงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ : กรณีศึกษาบริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ, การจัดการโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมสิ่งทอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการดำเนินงาน และประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ของบริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaires) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของบริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน จำนวน 300 คน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านพบ ว่าด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดองค์การ ด้านการจัดคนเข้าทำงาน ด้านการควบคุม และด้านที่มีคำเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการสั่งการ
ส่วนระดับประสิทธิภาพการทำงานในด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การจัดการบรรจุสินค้าเหมาะสม เป็นมาตฐานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ จัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบอย่าง เหมาะสม และสื่อสารข้อมูลได้ถูกต้องมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ พบว่า ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ ด้านการสั่งการ (x4) ด้านการควบคุม (x6) ด้านการจัดองค์การ (x2) และด้านการจัดกำลังคน (x3)โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.411, 0.170, 0.160 และ-0.185 ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.400 สามารถทำนายประสิทธิภาพการทำงานด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ร้อยละ 40.0
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2550). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย (2550-2554). กรุงเทพๆ: ครุสภาลาดพร้าว.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2553). โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ. สืบคัน 23 กรกฎาคม 2557, จาก http://ibrary.dip.go.th/multim4/eb/EB%20141.3.doc.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2546). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน "กลยุทธ์ทำให้รวยช่วยให้ประหยัด"กรุงเทพฯ: นัฏพร.
ธนัญญา วสุศรี. (2550). การจัดการโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: ไอทีแอล เทรอ มีเดีย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545).การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราณี ตันประยูร. (2541).การบริหารการผลิต(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ปัญญา นพขำ. (2553). การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.
ปรีชา อินทร์เลิศ. (2554). กระบวนการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล ตำบลในขตพื้นที่ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ภูริชยา สัจจาเฟื่องกิจการ. (2553). ภาพรวมปัญหาในอุตสาหกรรมสิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่มและมาตรการในการแก้ไข. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2557, จาก http:/www.thaicostreduction.com/
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2557). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เพียรสัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ ภิญญาคง วันทนีย์ ภูภัทราคม และธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร. (2553). การจัดการที่มีผลต่อปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท อูช่าสยามสติลอินดัสตรีบส่จำกัด(มหาชน) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณหิต) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2554). 2P4M: แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุมศึกษาเอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(75), 29-44.
เอกลักษณ์ กู้เกียรติวงศ์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมน้ำมันพืช. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Harland, C. (1994). Supply chain management : perceptions of requirements and performance in European automotive aftermarket Supply chains. Warwick: Warwick Business School.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (Third edition). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น