แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการมีเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่เข้าร่วมโครงการสานฝันมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • ชะเอิ้น พิศาลวัชรินทร์ ศูนย์นำความรู้สู่การปฏิบัติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, เป้าหมายในชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเปรียบเทียบการมีเป้าหมายในชีวิตก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้าร่วมโครงการสานฝันมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ จำนวน 400 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 และ กลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01 ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นแบบ Rating Scale (Questiomaire) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 68 และเป็นนักศึกษาเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 32 และพบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสายสังคมและมนุษย์ คิดเป็นร้อยละ 78.50 และสายวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 21.50 นักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01 ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสายสังคมและมนุษย์ คิดเป็นร้อยละ 2 และสายวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 28

ผลจากการเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนและการมีเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการ พบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.00 มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน นักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่มีผลการเรียนสูงกว่า หรือเท่ากับ 1.01 มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน และพบว่านักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.00 มีเป้าหมายในชีวิตก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน และนักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01 มีเป้าหมายในชีวิตก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน

References

กองวิจัยทางการศึกษา. (2545). ข่าวสารการวิจัย. กรุงเทพฯ: กองการวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เกษตรชัย และหึม. (2550). องค์ประกอบในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,13(3) ,445.

คัดนางค์ มณีศรีและสมหวัง พิริยานุวัฒน์. (2540). อิทธิพลของพ่อแม่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปณิธานทางการศึกษาและอัตมโนทัศน์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญกร ดำแวง. (2552). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาแคลลูลัส 1 ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเจตคติ ต่อวิธีสอนและความวิตกกังวลในการเรียนโดยใช่วิธีสอนแบบเรียนเป็นคู่ Learning cell) ที่มีการสอบย่อยกับการสอนแบบบรรยาย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

วรรณี โสมประยูร. (2537). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพO: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-13