พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ผู้แต่ง

  • พิมพา หิรัญกิตติ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อุดม สายะพันธุ์ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เกยูร ใยบัวกลิ่น าขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุพรรณี อินทร์แก้ว สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สมชาย หิรัญกิตติ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมูล เหตุจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 1,600 คน ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยว่าควรจัดตั้งศูนย์บริการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว เป็นแหล่งซื้อสินค้าเกษตร/ผลิตภัณฑ์ชุมชน ควรมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริการการท่องเที่ยวแก่ผู้ เกี่ยวข้องกับการให้บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มูลเหตุจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรคือ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ คลายความเครียด ความสวยงามของสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านสิ่งดึงดูดใจคือ การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมความเป็นธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว ความสวยงาม ความเหมาะสมของสภาพภูมิทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยว ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวเคยท่องเที่ยวเชิงเกษตรรวมครั้งนี้ด้วย จำนวน 4 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1,500 บาท โดยเดินทางแบบเช้าไป-เย็นกลับมากกว่านักท่องเที่ยวพักค้างแรม โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวเดินท่องเที่ยวพักค้างแรม จำนวน 1 คืน ในการเดินทางแต่ละครั้ง โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชอบการท่องเที่ยวรูปแบบสวนผลไม้ รองลงมาคือ รูปแบบเกษตรแบบผสมผสานและรูปแบบไม้ดอกไม้ประดับ ตามลำดับ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545).การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของคนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

คณิต ดวงหัสดี. (2538).การพัฒนาการสอน.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549).จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : แอคทีฟพริ้นท์.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542).การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2541).การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551).การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรีชา แดงโรจน์. (2544).อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ไฟว์แอนด์โฟร์พริ้นติ้ง.

ประเสริฐ วิทยารัฐ. (2530).การจัดการการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

พูนศักดิ์ วงศ์มกรพันธ์. (2547).ศักยภาพของพื้นที่สวนเกษตรเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในจังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยุรีพรรณ แสนใจยา. (2545).แนวทางการพัฒนาไร่ชาสุวิรุฬห์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินิจ วีรยางกูร. (2532).การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ : บริษัท เทรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

วิภาวรรณ พัฒนพงษ์. (2547).การรับรู้ข่าวสาร ปัจจัยจูงใจ ความพึงพอใจ และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ นักท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาพร วิเชียรดิษฐ์. (2547). ศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักพัฒนาเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2541). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อภิรมย์ พรหมจรรยา. (2546).การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาชุมชนเกาะมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต.สงขลา: คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.) New York : Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-15