การใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การใช้สารสนเทศ, เจ้าพนักงานเวชสถิติ, เวชระเบียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติใ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และ 3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาล สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 817 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 1) มีการใช้สารสนเทศโดยรวมในระดับมาก จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีการใช้สารสนเทศด้านเวชระเบียนมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้สารสนเทศด้านเวชสถิติและรายงาน และการใช้สารสนเทศที่มีเนื้อหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานขนาดของโรงพยาบาล และหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน พบว่า มีการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ปัญหาการใช้สารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านเนื้อหาสารสนเทศสนับสนุนงานเวชระเบียนในเว็บไซต์ และด้านจำนวนสื่อสิ่งพิมพ์ด้านเวชระเบียนในห้องสมุด 4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่าเจ้าพนักงานเวชสถิติที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างกันมีปัญหาการใช้สารสนเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเนื้อหาสารสนเทศและรูปแบบสารสนเทศ ส่วนเจ้าพนักงานเวชสถิติที่มีตำแหน่งต่างกันประสบการณ์ทำงานต่างกัน และโรงพยาบาลขนาดต่างกันมีปัญหาการใช้ สารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กฤษณา แสนวา. (2542). การใช้สารสนเทศทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิตรลดา กลางเคื่อม และคณะ. (2547). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มข, 22(1), 37-50.
บุหลัน อุ้ยตระกูล. (2548). ปัญหาของการใช้สารสนเทศของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภาวดี สืบสนธ์. (2532). พฤติกรรมสารสนเทศ. กรุงเทพฯ ชมรมนิสิตวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปล่งศรี อิงคนินันท์. (2533). การพัฒนาศักยภาพในการแสวงหาสารนิเทศ. ในรายงานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 8 กลยุทธ์การแสวงหาสารนิเทศศาสตร์และศิลป์ คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พยอม ฮึงกูล. (2541). พฤติกรรมการใช้สารนิเทศของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธิ์. (2534). การศึกษาวิจัยกับความต้องการและการแสวงหาสารนิเทศ. วารสารห้องสมุด, 34(4), 72-79.
แม้นมาส ชวลิต. (2532). สารนิเทศและสารนิเทศศาสตร์. ในเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น หน้า 17, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนา หมื่นเดช. (2547). การใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนาภรณ์ หลุมเพ็ต. (2554). การใช้สารสนเทศของพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วันวิสาข์ สุทธิบริบาล. (2554). การใช้สารสนเทศของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภาพรรณ มีมา. (2554). การใช้สารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภาพรรณ สรรพิทยากุล. (2543). การใช้สารนิเทศด้านการพยาบาลของพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แสงเทียน อยู่เถา. (2551). เวชสถิติ. ศาลายา นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เหลาทอง สุริยะ. (2543). การใช้สารนิเทศของอาจารย์คณะสัตวแพทย์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cogdill, K.W. (2003). The information needs and information seeking in primary care: A study of nurse practitioners. Journal of Medical Library Association, 91, pp.203-215.
Lathery, J.W. (2001). Information seeking behavior of occupational health nurses: How Nurses keep current with health information. AAOHN Journal, 49(2), pp.87-95.
Dee, C., & Stanley, E. (2005). Information-seeking behavior of nursing students and clinical Nurses: implications for health sciences librarians [Electronic version]. Journal of the Medical Library Association, 93(2), pp.213-222.
Nwagwu, Williams E. (2009). Information needs and seeking behavior of nurses at the University Collage Hospital Ibadan,Nigeria [Electronic version]. Afr. J.Lib, Arch & Inf.Sc., 19(1), pp.25-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น