การศึกษาและพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้

ผู้แต่ง

  • กาญจน์กมล สุวิทยารัตน์ สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสังคม, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, โปรแกรมกลุ่มฝึกอบรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ 2) ศึกษาระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคใต้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภาคใต้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 900 คน ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของความฉลาดทางสังคม กลุ่มที่ 2 เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 20 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลอง เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกอบรมใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 และโปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนัก ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ ระหว่าง 0.6-1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ พบว่า องค์ประกอบของความฉลาดทางสังคมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การรับรู้ผู้อื่น การเข้าใจผู้อื่น การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น องค์ประกอบด้านการรู้คิดทางสังคม ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การรู้คิดในพฤติกรรม การมีข้อสนเทศทางสังคม การตัดสินสภาพการณ์ทางสังคม และองค์ประกอบด้านการมีทักษะทางสังคม ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การแสดงออกทางอารมณ์ การแสดงออกทางสังคม การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม องค์ประกอบทั้งหมดนี้ มีค่าความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถวัดองค์ประกอบของความฉลาดทางสังคมได้

2. ระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ จำนวน 900 คน อยู่ในระดับปานกลาง

3. ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม ก่อนการทดลองและหลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า กลุ่มฝึกอบรมมีผลทำให้ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

4. ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม และกลุ่มควบคุมที่ไม่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมสุขภาพจิต. (2554). คลังความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2554. จาก www.klb.go.th.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

ชวน เพชรแก้ว. (2534). นิสัยและบุคลิกภาพของชาวใต้ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา. พื้นบ้านพื้นเมืองถิ่นไทยทักษิณ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทรพริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ธัญญา ผลอนันต์, และจุไรพร วิสุทธิกุลพาณิชย์. (2551). ใช้หัวก่อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว’94.

พสุ เตชะรินทร์. (2549). ความฉลาดทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2552. จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006dec05p6.htm.

ยุทธ ไกรวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2: กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารวิจัยการศึกษา. 18(3), 8–11.

สุภมาส อังสุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, รัชนีกูล ภิญโญภาณุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม RISREL. กรุงเทพฯ: มิชชั่นมิเดีย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. มปป.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). สถิติอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2552. จาก http://www.mua.go.th.

อาคม เดชทองคำ. (2546). ตัวตนของคนใต้ มุมมองผ่านงานวิจัยหัวเชือกวัวชน. วารสารปาริชาติ. 15(2), 33-42.

Albrecht Karl. (2006). Social Intelligence: The New Science of Success. San Francisco: Jossey-Bass A Wiley Imprint.

Buzan Tony. (2002). The Power of Social Intelligence. London: Martins. Ltd.

Geldard, Kathryn; & Geldard, David. (1999). Counseling Adolescents: The Pro-Active Approach. London: Sage Publications.

Goleman, Danial. (2006). Social Intelligence : The New Science of Human Relationship. New York: Arrow bo139,237 oks.

John F. Kihlstrom, & Nancy cantor. (2000). Handbook of Intelligence. Cambridge University Press.

Kosmitzki, C. & John, O.P. (1993). The implicit use of explicit conceptions of social intelligence. Personality and Individual Differences, 15, pp.11-23.

Marlowe, Jr. (1986). Social Intelligence: Evidence for Multidimensionality and Construct Independence. Journal of Educational Psychology. 78, pp.52-58.

Nelson-Jones, Richard. (1992). Group Leadership: A Training Approach. California: Brook/Cole.

Stevens, James. (1996). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Szymanska, K., and Palmer, S. (2000). Cognitive Counseling and Psychotherapy. Thousand Oaks, CA : SAGE.

Thompson A. Rosemarry. (2003). Counseling Techniques: Improving Relationships with Others, Ourselves, Our Families and Our Environment. 2nd ed. New York: Brunner-Rutledge.

Vasilova K., Vyrost J. (2004). Solving Interpersonal Situation as The Indicator Of Social Intelligence. Studia Psychologica. 46, pp. 279-285.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-16