รูปแบบการบริหารจัดการและกลไกการบริหารเพื่อการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศสำหรับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ศตรัตน์ ทิพย์ผ่อง สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานตามแนวทางสู่ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อนำเสนอรูปแบบและกลไกการบริหารเพื่อการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศ สำหรับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ในขั้นต้นศึกษาและกำหนดองค์ประกอบการบริหารคุณภาพที่สอดคล้องกับแนวเกณฑ์การประเมินการบริหารสู่ความเป็นเลิศและเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ แล้วตรวจสอบผลด้วยการสนทนาเชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นที่สองศึกษาเฉพาะกรณีระบบบริหารงานคุณภาพของสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่งที่ยินดีให้ความร่วมมือในการศึกษาวิจัย และสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับคณบดี หัวหน้าสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ และผู้ที่รับผิดชอบดูแลงานประกันคุณภาพของสาขาฯ รวม 18 ท่าน รวบรวมข้อมูลสภาพการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ปัญหาและความต้องการในการปรับปรุงพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับแนวเกณฑ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศ ขั้นที่สามจัดทำร่างรูปแบบและกลไกการบริหารที่ระดับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ แล้วนำไปตรวจสอบความครอบคลุมความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติ แล้วจัดทำเป็นรูปแบบและกลไกเพื่อการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติและบริบทการบริหารจัดการที่ระดับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

จากการวิจัยนี้พบว่าองค์ประกอบการบริหารคุณภาพที่สอดคล้องเกณฑ์การประกันคุณภาพ แนวเกณฑ์การประเมินการบริหารสู่ความเป็นเลิศและเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มีทั้งสิ้น 12 องค์ประกอบ หลัก และ 52 องค์ประกอบย่อย ปัจจุบันระบบบริหารงานคุณภาพของสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มีโครงสร้างการบริหารแตกต่างกัน ขาดการทำงานในเรื่องการจัดการความรู้และการจัดทำข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศของสาขายังไม่เป็นปัจจุบัน มีความต้องการระบบบริหารที่เป็นสากล รูปแบบและกลไกการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานที่เสนอจึงประกอบด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ โครงสร้างการบริหาร จัดการและการจัดกลุ่มงานและกลไกการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การเตรียมการที่ระดับสาขาวิชา 2) การดำเนินงานตามวงรอบการประเมิน-การพัฒนา ช่วงระยะ 3 ปีการศึกษา และ 3) สรุปผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการทบทวนสถานภาพการพัฒนาส่วนกรอบการประเมิน การพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศฯ ประเมิน 12 องค์ประกอบหลัก 52 องค์ประกอบย่อย ใน 2 มิติ คือ มิติกระบวนการและมิติผลการดำเนินงาน ระบบและกลไกการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานตาม แนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศจะให้รายงานผลการประเมิน เป็นรายงานที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อการปรับปรุงในประเด็นต่างๆตามแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่สาขาวิชาสามารถใช้กำหนดการปรับปรุงคุณภาพการบริหารที่ระดับสาขาได้โดยตรง

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคต่อการดำเนินการในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2547). โลจิสติกส์เพื่อการผลิต และการจัดการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: หจก. นัฐพรการพิมพ์. 2

ทัศนา เมฆเวียน. (2549). วิวัฒนาการของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์ระดับอุดมศึกษา ในสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการความเป็นผู้นำทางการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2545). วิถีคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย : บทสะท้อน วิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์จากปัจจุบัน สู่อนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2540). การพัฒนากระบวนการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษา ตามแนวคิดการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การกรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ.

พิสณุ ฟองศรี. (2548). การพัฒนาตัวชี้วัดระบบประกันคุณภาพคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวทางรางวัลมัลคอร์ม บัลดริตจ์ เนชัลแนล ควอลิตี้ อวอร์ด. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2548, จาก http: //dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php?page=18&query

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2555). รายงานการประเมินตนเอง SAR 9. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลักขณา สกุลลิขเรศสีมา. (2551). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพคหกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาเข้าสู่อาชีพ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช (2550). การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการความเป็นผู้นำทางการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2553). TQA Criteria for Performance Excellence 2553-2554. กรุงเทพฯ, บริษัทศิวาโกลด์มีเดีย จำกัด.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

อนันต์ เตียวต๋อย. รูปแบบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลนครปฐม. (2551). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2550). การพัฒนาแบบประเมินสถานศึกษาตามแนวการประกันคุณภาพการศึกษาระบบมัลคอร์ม บัลดริตจ์ สำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อมรรัตน์ อนันตวราพงษ์. (2551). ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ: หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ระดับอุดมศึกษาที่มุ่งหวัง . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Hawk, Bradley James. (2004). Baldrige Criteria for performance excellence in Illinois public schools : understanding and Implementation.Retrieved March, 15, 2005, from http://wwwlib.umi//wwwlib.umi.com/dissertations/results?set_num=1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-16