แนวทางการสร้างความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผู้สอบบัญชีภาษีอากรในการนำแนวคิดผู้สอบบัญชีภาษีอากรแนวใหม่ NEW TA มาใช้
คำสำคัญ:
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแนวใหม่, ความพึงพอใจ, การจัดเก็บภาษีแนวใหม่บทคัดย่อ
การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ โดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยงด้านกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ซึ่งกรมสรรพากรจะนำมาใช้ในอนาคต โดยที่กรมสรรพากรมีความมุ่งหวังให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแนวใหม่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ คุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยา บรรณ เจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษีอากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทักษะและความสามารถดังกล่าว ส่งผลให้เกิดศักยภาพในการทำงานพร้อมทั้งมีการ พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพนี้มีความชำนาญ ก้าวทันกับยุคสมัยที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การก้าวทันกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน การสร้างความเชื่อมั่น การให้ความสำคัญ ความเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า คือหัวใจสำคัญของแนวคิดผู้สอบบัญชีภาษีอากรแนวใหม่ วัตถุประสงค์ หลักของแนวคิดนี้คือ การได้มาซึ่งความพึงพอใจ และความไว้วางใจจากลูกค้า ความคิดนี้ จำเป็นที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแนวใหม่ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของวิชาชีพการตรวจสอบควบคู่กับภาษีอากรและกฎหมาย โดยเริ่มจากการเริ่มงานการตรวจสอบจนสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบ ผลของการปฏิบัติงาน ตามแนวคิดใหม่นี้เป็นการกำกับดูแลการจ่ายชำระภาษีได้ถูกต้อง เที่ยงตรง และเต็มใจในการเสียภาษี
References
กรมสรรพากร. (2544). ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่องกำหนด ระเบียบ เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร 12 มีนาคม พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร
กรมสรรพากร. (2545). คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานและการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร
จิรพร สุเมธีประสิทธิ์. (2555). Compliance Risk Management – บริหารความเสี่ยงด้านกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์. สืบค้น 18 มิ.ย. 2557, จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=790453.
ชัพวิชญ์ คำภอรมณย์, ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ, และ นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2554). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางการบัญชี และประสบการณ์ ด้านการสอบบัญชี ที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (3), 29-38.
ชัยนรินทร์ วีระสถาวณิชย์. (2548). Internationnal Education Standards (IES). สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 1(4), 1-12.
ธัชชัย จินต์แสวง. (2552). ความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีภาษีอากรต่อคำสั่งของกรมสรรพากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การรายงาน การตรวจสอบและการรับรองบัญชี. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (น.3-10). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพี เอ็นเพรส.
สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2555). การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.taxauditor.or.th.
สุรศักดิ์ จารุวรรณสถิต.(2556). PAA ,มีผลกระทบอย่างไรกับสำนักงานบัญชีและผู้ประกอบการSMEs.สืบค้น18 มิ.ย. 2557, จาก http://www.tacthai.com/ArticleleInfo.aspx?ArticleTypeID=2206& ArticleTypeID=6669
ศูนย์บริหารความเสี่ยง. (2556). การบริหารจัดเก็บภาษีอากร โดยหลักการบริหารความเสี่ยง CRM.วารสารความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร สรรพากรสาส์น, 45-63.
US General Accounting Office:GAO. (2003). Accounting firm consolidation: selected large public company views on audit fees, quality, independence, and choice. report to the Senate Committee on Banking Housing and Urban Affair and the House Committee on Financial Services, September.
Ismail, I., Haron, H, Ibrahim, D, & Isa, S. (2006). Service Quality, Cilent Satisfaction and loyalty towards Audit Firms – Perceptions of Malaysian Public Listed Companies. Managerial Auditing Journal, 21(7), 738-756.
Percy,J.P. (1997). Auditing and Corporate Governance—a Look Forward into the 21st Century. International Journal of Auditing. 1,(1), 3-12.
Parasuraman, A, Berry, L. and Zeithml. A. (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67(4), 42-50.
Porter, B.A. (1990). The Audit expectation-performance gap and role of external auditors in society. Unpublished Ph.D. Dissertation: New Zealand
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น