ปัจจัยและลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์, ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้สอนและผู้บริหาร เกี่ยวกับปัจจัยและลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษา ผู้สอนและผู้บริหาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษา ผู้สอนและผู้บริหารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้ง 6 ภาควิชา และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 348 คน โดยมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นไม่เป็นสัดส่วนเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้สอนและผู้บริหาร เกี่ยวกับปัจจัยและลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1)สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2)แบบประมาณค่า 5 ระดับ และ3)แบบสอบถามปลายเปิด

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา ผู้สอนและผู้บริหาร มีความคิดเห็นของปัจจัยโดยรวมสอดคล้องกันและการจัดลำดับของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์จากมากไปน้อย 5 ลำดับ คือ 1.ปัจจัยด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2.ปัจจัยด้านนักศึกษา 3. ปัจจัยด้านการบริหาร 4. ปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก 5.ปัจจัยด้านหลักสูตร

References

จีระพรรณ สุขศรีงาม. (2536). ชีวสถิติเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ไชยรัตน์ สุริยคุปต์. (2542). การศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาในการสอนของครูฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตการศึกษา 10. มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2540). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนและวิธีเผชิญปัญหาทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล. (2552). คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 และฟิสิกส์ 2 ปีการศึกษา 2551-2552. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2534). ค่านิยมวิทยาศาสตร์กับการสอนวิทยาศาสตร์.วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.16(2), 60-70.

มาลี จุฑา. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

ยุภา ตันติเจริญ. (2531). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบท. วารสารคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาสหประชาชาติ, 20(3),401.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). การปฏิรูปการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในการปฏิรูป การศึกษา: แนวคิด และหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:วิญญูชน.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2552). วิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2552, จาก http://th.wikipedia.org.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: โรงพมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุธี พรรณหาญ. (2547). การใช้ปัญหาเป็นหลักในการสอนเรื่องไฟฟ้าของนักศึกษาสถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

Carter,John A . (1982). Student Behavioral of high Achievement Student and Low Achievement Student. Dissertation Abstract intemational,39 :11.

Hofstein A. and Lunetta V.N. (1982). The role of the laboratory in science teaching : neglected aspects of research. Review of Educational Research. 52 : 201-217

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17