การพัฒนาทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนในโครงการภาคภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • อังสนา นาคสวัสดิ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ทรัพยากรการศึกษา, เรียนเว็บเควสท์, ทรัพยากรการศึกษาเว็บเควสท์, เว็บบล็อกทรัพยากรการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในโครงการภาคภาษาอังกฤษ และ 2) ประเมินและปรับปรุงทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ฯ มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการพัฒนาทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ฯ 2) ขั้นการออกแบบและพัฒนาทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ฯ 3) ขั้นการประเมินและปรับปรุงทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ฯ ประชากร ได้แก่ครูชาวไทยที่สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน รัฐบาลที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษทั่วประเทศ จำนวน 158 โรงเรียน ซึ่งมีครูชาวไทยโรงเรียนละ 1 คน รวม 158 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูชาวไทย จำนวน 32 คน ที่สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนที่จัดการเรียนการ สอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษจากกรุงเทพมหานคร นนทบุรีและปทุมธานี ปีการศึกษา 2555 ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ในด้านรูปแบบการนำเสนอและเทคโนโลยีที่ใช้และด้านเนื้อหา เป็นแบบปลายเปิด 2) แบบประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อทรัพยากรการศึกษาบทเรียนเว็บเควสท์ฯในด้านรูปแบบการนำเสนอสาระความรู้และองค์ประกอบเสริมและเทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบรายการให้เลือกและปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการสรุปเขียนเป็นความเรียง

ผ ล ก า ร วิจัย มีดัง นี้ 1 ) เว็บ บ ล็อ ก ท รัพ ย า ก ร ก า ร ศึก ษ า บ ท เรีย น เว็บ เ ค ว ส ท์ฯ ที่ URL:http://aungsanan.wix.com/wq4efl ประกอบด้วยบทเรียนเว็บเควสท์จำนวน 73 บทเรียน พร้อมด้วยเอกสารวิเคราะห์องค์ประกอบบทเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และ ทเรียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยีแบ่งเป็น 3 ระดับตามความยากง่ายทางภาษา คือระดับเบื้องต้น ระดับกลาง และระดับสูง 2) ผลจากการประเมินของกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน พบว่าทรัพยากรการศึกษาเว็บเควสท์ฯมีความเหมาะ สมในทุกด้านที่ประเมิน ได้แก่ ด้านรูปแบบการนำเสนอ ด้านสาระความรู้และด้านองค์ประกอบเสริมและเทคโนโลยีที่ใช้ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.63, 92.83 และ 88.7 ตามลำดับ โดยมีความคิดเห็นมากที่สุด ในหัวข้อการช่วยลดภาระของครูผู้สอนในการเลือกสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและกิจกรรมส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการสืบค้นข้อมูลที่ดีเฉลี่ยร้อยละ 89.0

References

กรมวิชาการ. (2541). ศูนย์พัฒนาหลักสูตร.คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning: หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

นาตยา ปิลันธนานนท์, มธุรส จงชัยกิจ และศิริรัตน์ นีละคุปต์. (2542). การศึกษาตามมาตรฐาน: แนวคิดสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: แม็ค

ประพนธ์ จุนทวิเทศ. (2553). เว็บไซต์สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2556, จาก http://www.bpcd.net/new_subject/general/Articles/04.pdf,

วรลักษณ์ ศรีใย. (2555). “ชี้ครูไทยทำลายความกล้าของเด็ก ไม่ยอมรับความต่าง-ความคิดเห็นส่งผลการเรียน’ภาษาอังกฤษ.” ศูนย์ข่าว ITCJ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2556, จาก http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=1677,

วสันต์ อติศัพท์. (2546). WebQuest: การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางบน World Wide Web. วารสารวิทยบริการ, 14(2), 52.

Discover The joy of English. 2004. What Are WebQuests? สืบค้นเมื่อ January 28, 2008, จาก www.iwebquest.com/hotlist.htm.,.

Dodge, B. (1997). Some thoughts about WebQuest. สืบค้นเมื่อ January 6, 2008, จาก http://webquest.sdsu.edu/about_webquest.html.

LeLoup, J. and R. Ponterio. (1997). Internet Technologies for Authentic Language Learning Experiences. Washington, DC: ERIC Clearinghouse on Languages and Linguistics.

O’Reilly, T. (2007). What is web 2.0: Design patterns and business models for the next generation of software. International Journal of Digital Economics 65, 17-37

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17