แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
สภาพปัญหา, แนวทางการพัฒนา, การประกันคุณภาพภายในบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร มหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะวิชา ผู้บริหารสถาบัน สำนัก ผู้บริหารหน่วยงานย่อย ผู้มีประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติ ด้านการวางแผนและด้านการพัฒนาปรับปรุงตามลำดับ สำหรับปัญหาการดำเนินงาน การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการวางแผน ด้านการพัฒนาปรับปรุง ด้านการปฏิบัติและด้านการตรวจสอบ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านการวางแผน ควรเริ่มจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจทั้งผู้บริหารและบุคลากรให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการประกันคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงเพื่อใช้ในการวางแผน เพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัย ส่วนด้านการปฏิบัติควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทำงาน ตามวงจร PDCA อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มองเห็นผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นผลสำเร็จสืบเนื่องจากการดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพ สำหรับด้านการตรวจสอบผู้บริหารและบุคลากร ควรมีความรู้ความเข้าใจเกณฑ์การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านสุดท้ายคือ ด้านการพัฒนาปรับปรุง ผู้บริหารและบุคลากรควรตระหนัก และเห็นถึงประโยชน์ของการประกันคุณภาพอย่างแท้จริงและให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
References
กรรณิกา เทศกาล. (2554). ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณะผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554. อัดสำเนา
ถิรนันท์ ปาลี. (2553). การประเมินคุณภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นุชนารถ ชื่นจุ้ย. (2553). สภาพและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทบุ๊คพอย์ จำกัด
วิไลรัตน์ วิริยะวิบูลย์กิจ และ ธเนศ ดาวรุ่งโรจน์. (2554). การศึกษาประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามกระบวนการ PDCA. โครงการวิจัยทุนอุดหนุน มก. ปีงบประมาณ 2550. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และ สุณี รักษาเกียรติศักดิ์. (2546). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการจัดทำและพัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.
เสาวลักษณ์ บุญจันทร์. (2555). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2548). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: สกายบุ๊กส์ จำกัด.
สำนักประกันคุณภาพ. (2548). คู่มือระบบประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น