ข้อดีและข้อเสียของความร่วมมือทางกฎหมายภาษีของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย: ศึกษากรณีการลดภาษีศุลกากรตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน

ผู้แต่ง

  • จิรศักดิ์ รอดจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การลดอัตราอากรขาเข้า, ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน, ผลกระทบด้านบวกและด้านลบ, กฎหมายภาษีศุลกากร, การค้าระหว่างประเทศ, อุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ, บันทึกที่เป็นการอธิบายตัวบทบัญญัติในกฎหมาย, การรวบรวมกฎหมาย, หลักการจัดเก็บภาษี, กฎหมายภาษีศุลกากรลำดับรอง

บทคัดย่อ

การลดอัตราอากรขาเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนส่งผลกระทบด้านบวกที่สำคัญ คือลดแรงจูงใจของผู้นำเข้าในการหลบหลีกและหนีภาษีศุลกากรและกระทำความผิดทางศุลกากร ลดการบิดเบือนของภาษีต่อการตัดสินใจของประชาชนในการซื้อสินค้าที่นำเข้าจากภูมิภาคอาเซียน ไม่ก่อให้เกิดกรณีการผลักภาระภาษีที่เก็บจากสินค้านำเข้าออกไปสู่ประเทศที่ส่งออก ลดผลกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ช่วยให้กฎหมายภาษีศุลกากรก้าวทันต่อสภาพการทางเศรษฐกิจและการค้าของโลก ลดการทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ

ผลกระทบด้านบวกข้างต้นสนับสนุนให้ประเทศไทยเจรจาและจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการเจรจาและจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีฉบับต่อๆไปของประเทศไทย ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้ลดอัตราอากรขาเข้าลงในระดับที่เหมาะสม โดยการนำผลกระทบด้านลบจากการลดอัตราอากรขาเข้ามาเป็นปัจจัยพื้นฐานส่วนหนึ่งในการพิจารณาการปรับลดอัตราภาษี ประกอบกับปัจจัยด้านอื่นๆ นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอย่างเคร่งครัดและครบถ้วน ประเทศสมาชิกควรร่วมมือกันจัดทำบันทึกที่เป็นการอธิบายข้อบังคับที่กำหนดอยู่ในข้อตกลง (Explanatory Memoranda)

การลดอัตราอากรขาเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะด้านบวกต่อประเทศสมาชิกที่เข้าทำข้อตกลง แต่ยังส่งผลกระทบด้านลบอีกด้วย ที่สำคัญคือ ทำให้รายได้ของรัฐบาลจากภาษีศุลกากรที่จัดเก็บจากการนำเข้าสินค้าลดน้อยลงไม่ส่งเสริมต่อหลักการดำเนินนโยบาย การคลังทางด้านหนี้สาธารณะของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนมีเงินออมไม่สนับสนุนหลักความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีในแนวตั้งและหลักความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ครั้งใหม่ ไม่ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่ต้องการลดอำนาจซื้อของประชาชน ไม่สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการนำเข้าสินค้า เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ลดบทบาทหน้าที่ของกรมศุลกากรไม่สอดคล้องกับหลักความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี เพราะหลักเกณฑ์หลายข้อในประกาศกระทรวงการคลังและประกาศ กรมศุลกากรที่ออกตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหลายฉบับทำให้กฎหมายภาษีศุลกากรเพิ่มความซับซ้อนและปฏิบัติยากขึ้นไปอีกและไม่สอดคล้องกับหลักการของระบบภาษีที่ดีที่ต้องการให้กฎหมายภาษีออกโดยรัฐสภาซึ่งถือเป็นกฎหมายภาษีแม่บท แต่ประกาศกระทรวงการคลังและประกาศกรมศุลกากรที่ออกตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนถือเป็นกฎหมายภาษีลำดับรองที่ออกโดยองค์กรฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องกับการลดอัตราภาษีซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างภาษีที่ควรอยู่ภายใต้กระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงกฎหมายภาษีศุลกากรเพื่อลดผลกระทบด้านลบข้างต้นดังนี้

เพื่อลดความซับซ้อนลดความสับสนและลดความยากในการเข้าใจเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายภาษีศุลกากรลำดับรองหลายฉบับที่เกี่ยวกับการลดอัตราอากรขาเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนและ ความตกลงระหว่างประเทศที่ผู้นำเข้าสินค้าต้องปฏิบัติควรนำข้อกฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับระเบียบหลักเกณฑ์และพิธีการเกี่ยวกับการลดอัตราอากรขาเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนและความตกลงระหว่างประเทศที่ผู้นำเข้าสินค้าต้องปฏิบัติที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายภาษีศุลกากรลำดับรองหลายฉบับมารวมอยู่ในกฎหมายแม่บทฉบับเดียว ตามระบบการรวบรวมกฎหมาย (Consolidation) ในรูปพระราชบัญญัติของรัฐสภา นอกจากนี้ ในเวลาที่ทำการรวบรวมกฎหมายภาษีศุลกากรลำดับรองที่เกี่ยวข้องหลายฉบับให้เป็นกฎหมายแม่บทฉบับเดียว หน่วยงานของรัฐบาลที่เป็นผู้จัดทำและรวบรวมกฎหมายควรจัดทำบันทึกที่เป็นการอธิบายตัวบทบัญญัติในกฎหมายแม่บทนั้น (Explanatory Memoranda) ควบคู่กันไปด้วย

References

กรมศุลกากร. (2556). online: www.customs.go.th

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2552). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ASEAN Economic Community: AEC. นนทบุรี: มปท.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2555). AEC FACT BOOK: One Vision, One Identity, One Community. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA. นนทบุรี: ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. FTA Fact Book: เขตการค้าเสรี. นนทบุรี: ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. AEC News Alerts. ข่าวประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. Press Release. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. Press Release. วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556.

จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2555). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: หลักการและบทวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชาติ อัศวโรจน์. (2544). ปัญหากฎหมายศุลกากรและข้อวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เดือนตุลาคม.

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2548). ระบบเศรษฐกิจและพัฒนาการเศรษฐกิจไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ส.เสริมมิตรการพิมพ์.

นวลน้อย ตรีรัตน์, บรรณาธิการ. (2543). คอร์รัปชันกับการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

บุญธรรม ราชรักษ์. (2551). เศรษฐศาสตร์ภาษีอากรไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็นเพลส.

ปรีดา นาคเนาวทิม. (2526). เศรษฐศาสตร์การภาษีอากร 1. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรา โพธิ์กลาง. (2555). เราคืออาเซียน ประชาคมอาเซียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์คอมมิกส์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล. (2555). การค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎี นโยบาย และการวิจัยเชิงประจักษ์. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ม.ร.ว.สฤษดิคุณ กิติยากร. (2546). คำอธิบายประมวลศัพท์ธุรกิจที่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาโนช รอดสม. (2555). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท จี-อาร์ต จำกัด.

ไม่ปรากฏนามผู้เขียน. การเงินธนาคาร. ฉบับที่ 303 กรกฎาคม 2007

ไม่ปรากฏนามผู้เขียน. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 12 กรกฎาคม 2556

ไม่ปรากฏนามผู้เขียน. หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. ฉบับวันที่ 8 เมษายน 2556

ไม่ปรากฏนามผู้เขียน. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2555

รัตนา สายคณิต. (2537). หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น: มหเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน, บรรณาธิการ. (2542). พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชัย มากวัฒนสุข. (2551). e-Customs กฎหมายภาษีและพิธีการศุลกากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์.

วิทยากร เชียงกูล. (2547). อธิบายศัพท์เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2554). การประเมินผลกระทบจาก FTA. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียักก้าจำกัด.

สมนึก แตงเจริญ. (2538). ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2552). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

สุภาภรณ์ ชาญณรงค์ จิราวิไล ธารณปกรณ์. (2533). เขตการค้าเสรีอาเซียนกับอุตสาหกรรมปิโตร-เคมี และพลาสติก. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิจัยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

สุเมธ ศิริคุณโชติ. (2550). กฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป. (2551). กฎหมายการคลัง. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Arnold, Roger A. (2003). Economics. 6th ed. Thomson: South-Western.

Dalton, Hugh. (1966). Principles of Public Finance. 4th ed. London: Routledge & Kegan Paul.

Eckstein, Otto. (1967). Public Finance. 2nd ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Lagerberg, Francesca. “Ten Tax Tenets”. Taxation. 28 October 1999.

James, Simon. (1998). A Dictionary of Taxation. Cheltenham: Edward Elgar.

James, Simon and Christopher Nobes. (2000). The Economics of Taxation. 7th ed. Essex: Pearson Education.

Martin, Elizabeth A. ed. (1997). Oxford Dictionary of Law. 4th ed. Oxford: Oxford University Press.

Morse, Geoffrey and David Williams. (2004). Davies: Principles of Tax Law. 5th ed. London: Sweet & Maxwell.

Nightingale, Kath. (2000). Taxation Theory and Practice. 3rd ed. Essex: Pearson Education.

OECD. (1977).The Treatment of Family Units in OECD Member Countries under Tax and Transfer Systems. Paris: OECD.

Sandford, Cedric. (2000). Why Tax Systems Differ. Bath: Fiscal Publication.

Schnitzer, Martin. (1974). Income Distribution: A Comparative Study of the United States, Sweden, West Germany, East Germany, the United Kingdom, and Japan. New York: Praeger Publisher.

Silverman, H.A. (1931). Taxation its Incidence and Effects. London: Macmillan.

Smith, Adam. (2000). The Wealth of Nations. New York: The Modern Library.

The Commission on Taxation and Citizenship. (2000). Paying for Progress. London, Fabian Society.

Wall, Nancy. (2003). Complete A-Z Economics Handbook. 2nd ed. London: Hodder & Stoughton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17