การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เพื่อกำหนดกรอบโครงสร้างเชิงทฤษฎี 2. ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL Version 8.72) ตัวอย่างคือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 441 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3. ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการนำตัวบ่งชี้มาสร้างเป็นแบบประเมินและและนำไปสอบถามความคิดเห็นเชิงประเมินจากตัวอย่าง จำนวน 50 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 55 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น 6 ด้าน คือด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน จำนวน 13 ตัว บ่งชี้ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ ด้านการส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนาครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการสอน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามการสอน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดล โครงสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่า Chi-square=2646.65 ค่า df=1405 ค่า P-value=0.081 ค่า GFI=0.96 ค่า AGFI=0.92 ค่า RMSEA=0.064) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า องค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน เป็นองค์ประกอบสำคัญของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักสูงสุด คือด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 3. ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ตัวบ่งชี้จำนวน 55 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย .
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555–2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จักรพรรดิ วะทา. (2550). การประชุมวิชาการ “การวิจัยในชั้นเรียน” ครั้งที่ 4 ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์. (2541). การวิจัยในชั้นเรียน. วารสารวิชาการ, 1(18), 2-21.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). สพฐ.54. กรุงเทพฯ: อูชาหงิ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). ระบบการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2551-2561).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แผนปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2555. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2555, จาก www.obec.co.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การบรรยายทางวิชาการเพื่อสร้างความตระหนักเรื่อง การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). คู่มือสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ครูและนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการประเมินตามโครงการวิจัยนานาชาติ (PISA&TIMSS). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้และเรียนรู้. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). สรุปความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จาก World Competitiveness Yearbook (IMD) 2011. สืบค้น 25 สิงหาคม 2554, จาก http://www.onec.go.th สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2555 จาก, www.obec.co.th.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2546). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ลิงค์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alig-Mielcarek, Jana M., & W. K.Hoy. (2005). A Theoretical and Empirical Analysis of the Nature, Meaning, and Influence of Instructional Leadership. Retrieved June 3, 2011, from http://72.14.235.104search?q=cache:P2iwpAZ4GAw
Beare, H., Caidwell Brain J., & Millkan, Ross H. 1995. Creating an Excellent School. London: Routledge.
Blas., J., & Blas., J. (1999). Principals’ instructional leadership and teacher development: Teachers’ perspective. Educational Administration Quarterly, 35(3), 349-378.
Blas., J., & Blas., J. (2001). Empowering Teachers: What Successful Principals Do. Thousand Oaks: Corwin Press.
Blas., J., & Blas., J. (2001). The teacher’s principal. Journal of Staff Development, 22(1), 22-25.
Boyd, P. W. (2002). Educational leadership. Califirnia: ABC-CLIO.
Creemers Bert. (1992). The Effective Classroom. London: Cassell.
Drago-Severson, E. (2004). Helping teachers learn: Principal leadership for adult growth and development. Thousand Oaks, CA: Corwin Press .
Flanagan, L., & Jacobsen, M. (2003). Technology leadership for the twenty-first century principal. Journal of Educational Administration, 41(2), 124-142.
Gentilucci, James L., & Muto, Cindy C. (2007). Principals’ influence on academic achievement: The Student perspective. NASSP Bulletin, 91(3), 19-236. Retrieved September 15, 2011, from http://bul.sagepub.com/cgi/content/abstract/91/3/219
Goodenow, C., & Crady, K. E. (1997). The relationship of school belonging and friends’ values to academic motivation among urban adolescent students. Journal of Experimental Education, 62, 60–71.
Hallinger, P., & Heck, R. (1996). Reassessing the principal’s role in school effectiveness: A review of the empirical research, 1980-1995. Educational Administration Quartelry, 32(1), 5-44.
Hallinger, P., Bickman, L., & Davis, K. (in press). (1996). School context, principal leadership and student achieve.
Halverson, R., Grigg, J., Prichett., & Thomas, C. (2007). The new instructional leadership: Creating data-driven instructional systems in school. Journal of School Leadership, 17(2), 159-194.
Hoover, I. J. (1998). Leadership in the 21 Century. Principal Management, 9(2), 1-3.
Hopkins, D., Ainscow, M., & West, M. (1994). School improvement in an era of change. London: Cassell.
Hoy, A. W., & W. K. Hoy. (2001). Educational administration (5th ed.). New York: McGraw–Hills.
Hoy, A. W., & W. K. Hoy. (2003). Instructional leadership: A Learning-centred guide. Boston: Allyn and Bacon.
King, Deborah. (2002). The Changing shape of leadership. Educational Leadership, 59(8), 61-63.
Krug, S. (1992). Instructional leadership: A Constructivist perspective. Education Administration Quarterly, 28(3), 430-443.
Locke, E., & Latham, G. (1990). A theory of goal setting and task performance. Englewood Cliffs: NJ: Prentice Hall.
Lunenberg, F. C., Ornstein, AC. (1996). Educational administration. Belmont: Wadsworth Publishing.
Marzano, R. J. (2003). What works in schools. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.
Murphy, J., Stephen, E., Ellen, G., & Andrew, P. (2006). Learning-centered leadership: Conceptual Foundation. New York: The Wallace Foundation.
O’Donnel, R. J., & White, G. P. (2005). Within the accountability era: Principals’ instructional leadership behaviours and student achievement. NASSP Bulletin, 89(645), 56-71.
Quinn, D. M. (2002). The Impact of principal leadership behaviours on instructional practices and students engagement. Journal of Education Administration, 40(5), 447-487.
Rahim, Jamal Jones. (2007). The principal’s role in building teacher leadership capacity in high performance elementary school: A qualitative case study. Retrieved August 20, 2011, from http://scholarcommons.usf.edu
Sammons, P., Hillman, J., & Mortimore, P. (1995). Key characteristics of effective schools: A Review of school effectiveness research. London, England: International School Effectiveness & Improvement Centre, University of London.
Sheppard, B. (1996). Exploring the transformational nature of instructional leadership. The Alberta Journal of Educational Research, XLII(4), 325-344.
Supovitz, J. A., & Poglinco, S. M. (2001). Instructional leadership in a standards-based reform. Philadelphia: Consortium for Policy Research in Education.
Sybouts, W., & Wendel, F. C. (1994). The Training and development of principals. London: Greenwood Press.
Weber, J. (1996). Leading the instructional program. In S., Smith. & P., Piele (Eds.), School leadership. (253-278). Clearinghouse of Educational Management. Eugene, Oregon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น