การวิเคราะห์องค์ประกอบความรักแบบเพื่อนของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • อสมา มาตยาบุญ สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ทศวร มณีศรีขำ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สมสรร วงษ์อยู่น้อย อนุกรรมการติดตามประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  • พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความรักแบบเพื่อน, การวิเคราะห์องค์ประกอบความรักแบบเพื่อนของนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความรักแบบเพื่อนของนักเรียนและศึกษา ระดับความรักแบบเพื่อนของนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2554 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50,373 คน ตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,400 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความรักแบบเพื่อนเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สนับสนุนว่าความรักแบบเพื่อนมี 3 องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง 13 องค์ประกอบชี้วัด ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านความคิดได้แก่ การระลึกถึง (Remind) การเห็นคุณค่า (Value) การคิดเชิงบวกกับเพื่อน ( Positive thinking ) การยอมรับ ( Acceptance) องค์ประกอบด้านความรู้สึก ได้แก่ ความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment) การใส่ใจ (Care) ความไว้วางใจ (Trust) การเห็นอกเห็นใจ (Empathy) และการมีความสุข (Happiness) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม ได้แก่ การ เสียสละ (Sacrifice) การช่วยเหลือ (Helping) การเป็นที่ปรึกษา (Consultant) การสื่อสารอย่างสนิทสนม (Intimate communication) และองค์ประกอบทั้งหมด มีค่าความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบทั้งหมดนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความรักแบบเพื่อนของนักเรียนได้ 2. การศึกษาระดับความรักแบบเพื่อนของนักเรียน พบว่า ด้านความคิดและด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับสูงส่วนด้านความรู้สึกอยู่ในระดับปานกลาง

References

ลลนา ปิยะอารีธรรม. (2552). การศึกษาความว้าเหว่และสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (2554). From http://plan.sesao1.go.th/school_size.php และ http://www.bopp-obec.info/home/?page_id=2113)

Carmines. & Mclver. (1981). Unidimensional scaling. Beverly Hill: Sage.

Davis, K. E., & Todd, M. L. (1982). Assessing friendship; Prototypes, paradigm cases, and relationship description. In S. Duck & D. Perlman (Eds.). Understanding personal relationships: An interdisciplinary approach (p. 17-38). London: Sage.

Harfield, E. (1984). The danger of intimacy. In V.Derlaka (Ed.). Communication, intimacy and close relationship (p. 207-220). New York: Praeger.

Joreskog & Sorbom. (1989): 23-28; Long. 1983: 61-64; Bollen. 1989: 256 -281, 335 -338

Maslow, Abraham H. (1954). Motivation and personality. New York: Harper & Row. 170.

Maslow, Abraham H. (1955). Deficiency motivation and growth motivation. Retrieved October 12, 2007.

Sternberg, R. J. (1988). The Triangle of love. New York: Basic Book

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17