ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา โภคสุทธิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • อุลิช ดิษฐประณีต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • วิศิษศักดิ์ เนืองนอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ชญานาภา ลมัยวงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ขวัญศิริ เจริญทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปัญหาข้อกฎหมาย, การจ้างแรงงาน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานของผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายและให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1. กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้แก่ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 4) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 2. ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้แก่ 1) กฎหมายยังไม่ครอบคลุมประเด็นในการทำงาน และไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง 2) ขาดมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนในด้านการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ รวมถึงมาตรการในการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ 3) การขาดรูปแบบกฎหมายที่ชัดเจน ขาดรูปแบบกฎหมายรวมทางด้านการจ้างแรงงานผู้สูงอายุที่เป็นรูปธรรม 3. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้แก่ 1) การนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานในต่างประเทศมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย 2) การตรากฎหมาย การทบทวนกฎหมายการจ้างแรงงานสูงอายุ ควรอยู่บนพื้นฐานของสภาพปัญหาการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ 3) การจัดทำกฎหมายคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ และกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ

References

กิตติสุดา กิตติศักดิ์กุล, และเกียรติพร อำไพ. (2562). มาตรการคุ้มครองทางกฎหมายเรื่องการจ้างผู้สูงอายุในแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(30), 174-187.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

จุฬา จงสถิตย์ถาวร. (2560). กฎหมายการจ้างแรงงานสูงอายุ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 8(1), 51-68.

นงนุช สุนทรชวกานต์. (2556). แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเพื่อขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ. วารสารนักบริหาร, 33(3), 39-46.

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551. (2551, 27 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 39 ก. หน้า 7.

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. (2533, 1 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. เล่มที่ 107 ตอนที่ 161. หน้า 10-28.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 130 ก. หน้า 1-6.

มานิตย์ ศรายุทธิกรณ์. (2551). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 11-45.

วันดี โภคะกุล. (2549). นโยบายและมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้สูงอายุในต่างประเทศ ใน การประชุมวิชาการประจำปี เรื่อง ผู้สูงอายุไทยในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). สวัสดิการผู้สูงอายุ : แนวคิดและวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย).

สมรักษ์ รักษาทรัพย์, ถวิล นิลใบ, และนงนุช อินทรวิเศษ. (2551). โครงการนำร่องศึกษาความเหมาะสมในการทำงาน ของแรงงานหลังเกษียณอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุนทรี พัวเวส. (2553). การประชุม IFA: สหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ ครั้งที่ 10 ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศ ออสเตรเลีย ในพลังผู้สูงอายุ สร้างสังคม ไทยรู้รักสามัคคี. สารรักผู้สูงวัย, 2(6), 4-5.

อรรถพร บัวพิมพ์. (2552). การคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21