การพัฒนาแบบวัดกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องไฟฟ้าสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สมสรร วงษ์อยู่น้อย สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณสรรค์ ผลโภค ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มนัส บุญประกอบ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แบบวัดกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาพัฒนาจากคำถามแบบอัตนัย 6 สถานการณ์ นำมาสร้างเป็นแบบวัดแบบเลือกตอบ 50 ข้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 40 คนซึ่งได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง

ผลการศึกษาพบว่า แบบวัดกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีลักษณะเป็นแบบสถานการณ์มีข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 16 ข้อ โดยแบ่งออกเป็นด้านการนิยามปัญหา 3 ข้อ ด้านการรวบรวมข้อมูลหาข้อสรุป 5 ข้อ และด้านการสรุปและประเมิน ผล 8 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามคุณลักษณะ ตั้งแต่ 0.67-1.00 มีความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.23-0.73 มีอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20-0.52 หาความ เชื่อมั่นของแบบวัดโดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.73

References

โครงการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์.(2553). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2553,จาก http://www.tqf.eng.mut.ac.th/.

ทบวงมหาวิทยาลัย. (2543). รายงานวิจัยเอกสารเรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2552).ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2531).เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา.

เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์. (2537). การพัฒนารูปแบบพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครู. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์พิมพ์.

สุนทรี คนเที่ยง .(2544). การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. ข่าวสารกองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.12(91) : 25.

Bodi, S.(1988). Critical Thinking and Bibliographic Instruction : The Relationship.The Journal of Academic Librarianship. 14(3) : 150-153 .

Ennis , R.H. (1985). A Logical Basis for Measuring Critical Thinking Skills . Educational Leadership. 43 (October 1985) : 45 - 48 .

Norris, S. P. & Ennis, R.H. (1989). Evaluating critical thinking. Pacific Grove, CA: Midwest.

Watson, G. and Glasser E. M. (1980). Watson-Glaser Critical Thinking Approaisal Manual. New York : Harcourt Brace and World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20