กลยุทธ์การบริหารเพื่อความเป็นเลิศในงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารเพื่อความเป็นเลิศในงานวิจัย, คณะมนุษยศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศในงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารและอาจารย์ในคณะมนุษยศาสตร์ สถาบัน อุดมศึกษาเอกชน 2) ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้สัมภาษณ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมประชุมสนทนากลุ่ม การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและประมวลผลการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ด้านการบริหารงานวิจัย ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการทำวิจัยและการทำวิจัยในคณะมนุษยศาสตร์สถาบันอุดมศึกษา (2) การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเพิ่มเติมผลการศึกษาเชิงปริมาณ (3) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของคณะมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (4) การประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบ ปรับปรุง ประเมินและรับรองกลยุทธ์

กลยุทธ์การบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศในงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่นำเสนอมี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพ (SO Strategy) กลยุทธ์สร้างภูมิคุ้มกัน (ST Strategy) กลยุทธ์พัฒนาและฟื้นฟู (WO Strategy) และกลยุทธ์แก้วิกฤติ (WT Strategy) โดยนำเสนอกลยุทธ์ในภาพรวมของมหาวิทยาลัยทุกขนาดและทุกพื้นที่ และกลยุทธ์เฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยที่จำแนกตามขนาดและพื้นที่

References

จรัส สุวรรณเวลา. (2534). บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2540). การบริหารงานวิจัยแนวคิดจากประสบการณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2545). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมการวิจัยของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจตนา นาควัชระ. (2548). ตามใจฉัน-ตามใจท่าน: ว่าด้วยการวิจารณ์และการวิจัย. กรุงเทพฯ: คมบาง.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). สภาพปัจจุบันและประเด็นข้อคิดเห็นและข้อหารือในกลุ่ม สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2552, จาก http://www.mua.go.th/data_pr/prasit/data_8.doc

ปรีชา ช้างขวัญยืน (บรรณาธิการ). (2547). การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ (บทสรุปจากที่ประชุมนักมนุษยศาสตร์). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Williams, D. A. (2000). Research Productivity of Nursing Faculty. Ed.D. Louisville: University of Louisville.

ทับทิม นิลวรรณ. (2538). ความต้องการและปัญหาการทำวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Isom, S. A. (2004). Relating Job Satisfaction to Research Productivity: Tenured Faculty in Two Colleges at a Midwest Research Extensive University. Ph.D. Minnesota: University of Minnesota.

จรัส สุวรรณเวลา. (2551). ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล หวังพานิช. (2541). “การสร้างงานวิจัยสำหรับอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน.” รายงานการสัมมนาเรื่องการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัยและสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. หน้า 25 - 40.

ไพฑูรย์ พงศบุตร. (2541). รายงานการสัมมนาเรื่องการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัยและสมาคม สถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2546). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำรา และเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ashworth, A. and Harvey, R. C. (1994). Assessing Quality in Further and Higher Education. London : Jessica Kingsley Publishers.

เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ (2546). “การจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย” รวมบทความกรณีศึกษาจากประสบการณ์การบริหารของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหาร ทบวงมหาวิทยาลัย. หน้า 35 – 41.

บุญเสริม วีสกุล. (2526). “นโยบายเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ.” การบริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. หน้า 30-33.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2530). การอุดมศึกษากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bushaway, R. W. (2003). Managing Research. Philadalphia: Open University Press.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2547). ปฏิรูประบบวิจัย เคลื่อนสังคมไทยด้วยความรู้: ข้อเท็จจริงและข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เพทาย เย็นจิตโสมนัส. (2552). มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (ตอนที่1-12). สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2552, จาก http://researchers.in.th/blog/nru/1706

นิพนธ์ ศุขปรีดี และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยโครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศิโรจน์ ผลพันธิน. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

บรรจง หมายมั่น. (2545). “การพัฒนางานวิจัยในสถาบัน.” รวมบทความกรณีศึกษาจากประสบการณ์การบริหารของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหาร ทบวงมหาวิทยาลัย. หน้า 31-34.

ยุวดี นาคะผดุงรัตน์. (2545). “การบริหารเพื่อยกระดับความเข้มแข็งงานวิจัยของมหาวิทยาลัย”รวมบทความกรณีศึกษาจากประสบการณ์การบริหารของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหาร ทบวงมหาวิทยาลัย. หน้า 179-184.

มานิต บุญประเสริฐ. (2533). “แนวทางปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน.” รายงานการสัมมนาทางวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยเรื่องการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย. หน้า 54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20