การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับอาสาสมัครประเภทผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ มานวิโรจน์ สำนักจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

คำสำคัญ:

การบริหารการศึกษา, อาสาสมัครประเภทผู้ปฎิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาด้านการจัดการศึกษาสำหรับอาสาสมัครประเภทผู้ปฏิบัติการเบื้องต้นในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และ 2.พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรดังกล่าวของประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคดิทฤษฏีเชิงระบบของ Ludwig Von Bertalaffy ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยนำเข้ากระบวนการผลผลิตและสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา โดยการสอบถามผรูั้บผิดชอบงานด้านการจัดการศึกษาสำหรับอาสาสมัครประเภทผู้ปฏิบัติ การฉุกเฉินเบื้องต้น จากสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจำจังหวัด และหัวหน้าศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ประจำจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 154 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 94.06 นำผลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับอาสาสมัครประเภทผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น และนำไปตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จากจังหวัดที่ผลการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินดีเด่น ระดับประเทศ 3 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี ยะลาและสุพรรณบุรี จากนั้นนำรูปแบบที่ได้จากขั้นตอนการสัมภาษณ์ไปตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยการสัมมนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 ท่าน เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเหมาะสมและเป็นไปได้

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับอาสาสมัครประเภทผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ควรเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างองค์ประกอบ ดังนี้ ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ วิทยากร ผู้เข้ารับการอบรม ทรัพยากรทางกายภาพ ได้แก่ อาคารและวัสดุสำหรับการจัดการศึกษา ทรัพยากรการเงินและระบบสารสนเทศ กระบวนการประกอบด้วย กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการบริการ และกระบวนการบริหารผลผลิตและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาของการจัดการศึกษาที่ควรพัฒนารูปแบบเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1)การกำหนดจำนวนผู้เข้าอบรมต่อรุ่น 2)ความเพียงพอของเอกสารสำหรับการศึกษาค้นคว้า 3)การสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ 4)การสนับสนุนงบประมาณอย่างทันเวลา 5)การจัดเก็บข้อมูลของวิทยาการผู้สอน 6)การจัดทำรายวิชาด้านการฝึกปฏิบัติการด้านช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน 7)การจัดทำแผนการสอน 8)การประเมินผลการสอนของวิทยากร 9)การบันทึกข้อมูลในการให้คำปรึกษา 10)การกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนการการศึกษา 11)การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 12)การติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการการศึกษา และ 13)การจัดทำแผนการจัดการศึกษาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ทั้งนี้การดำเนินการจัดการศึกษาตามองค์ประกอบเดิมผสมผสานองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้ง 13 องค์ประกอบจะทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ โดยจัดการศึกษาในอนาคต ควรจัดการศึกษาโดยการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทั้ง 13 องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น และองค์ประกอบเดิมซึ่งปฏิบัติได้เหมาะสมแล้ว และดำเนินการในรูปแบบของ “ศูนย์การเรียนรู้สำหรับอาสา สมัครฉุกเฉินการแพทย์ชุมชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน กลุ่มเสี่ยงในการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความมั่นใจด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉินแก่นักท่องเที่ยวจากการเปิดเสรีของประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.จำกัด.

ทองอินทร์ วงศ์โสธร.(2547).ประสบการณ์วิชาชีพบริหารการศึกษา. เอกสารการสอนชุด. วิชามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมดา.

ธงชัย สันติวงษ์.(2539).องค์การและการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ธีระ รุญเจิรญ.(2550).ความเป็นมืออาชีพในการจัดและการบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์ข้าวฝ่าง.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2555).คู่มือวิทยากรหลักสูตรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 1

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2553).มาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแพทย์ ฉุกเฉิน.พิมพ์ครั้งที่ 1

สมคิด บางโม.(2545).องค์การและการจัดการ กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์,.

Luthans(1981) Organization behavior Auckland : McGraw-Hill.

Robbins, Stephen P. (1996), and Couter, Mary. Management. New Jerrey : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-20